เป็นการศึกษาติดตามผู้ที่เคยเข้าร่วมรายการแข่งขันลดน้ำหนักดังรายการนึง เฉลี่ยแล้วพบว่าสามารถลดน้ำหนักไปได้ราวๆ 60 Kg ภายใน 30 สัปดาห์ เฉลี่ยได้ว่าลดสัปดาห์ละ 2 kg
6 ปีหลังจากจบรายการไปแล้ว
พบว่าน้ำหนักที่ลดไปนั้นเด้งกลับคืนมา
ระดับการเผาผลาญต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเฉลี่ย 500 Kcal/ วัน
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นทั้งๆ ที่ระดับการออกกำลังกายนั้นยังคงเข้มข้นตลอดเวลา
เรื่องระดับการเผาผลาญทีต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเฉลี่ย 500 Kcal/ วัน นั้นนับว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่ทีเดียว นั่นหมายความว่าคุณกินอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ที่ได้รับคำแนะนำก็จะทำให้เกิดพลังงานส่วนเกิน 500 Kcal ต่อวัน ซึ่งเท่ากับว่า 1 สัปดาห์จะมีพลังงานส่วนเกิน 3,500 Kcal นั่นคือไขมันเพิ่มขึ้นครึ่งกิโลทุกๆ สัปดาห์
ถ้ากินเท่ากับปริมาณที่เหมาะสมแล้วต้องการดุลสมการ Cal in = Cal out เพื่อที่จะทำให้รูปร่างคงที่ไม่มีพลังงานส่วนเกินมาสะสม นั่นก็หมายความว่าต้องออกกำลังกายเพิ่มอย่างน้อยวันละ 500 Kcal ถ้าเป็นการคาร์ดิโอนั่นคือต้องการคาร์ดิโอเพิ่มประมาณ 63 นาทีต่อวัน
คาร์ดิโอ 63 นาทีต่อวัน ทุกวันเพื่อที่จะทำให้น้ำหนักคงที่
ถ้าต้องการดุลสมการด้วยการลดอาหารนั่นคือต้องลด 500 Kcal ต่อวัน
หรือจะทำทั้งสองอย่างควบคู่กัน เหมือนไดเอทลดน้ำหนักตลอดเวลาแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคือทำเพื่อให้น้ำหนักคงที่
วนกลับมาที่อาสาสมัครรายการนี้ อย่าลืมว่าพวกเค้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ไขมันเพิ่มขึ้นทั้งที่ยังทำตามโปรแกรมให้เหมือนกับตอนน้ำหนักสุดท้ายที่ลดได้แล้วเมื่อ 6 ปีก่อน
จุดนี้เป็นสิ่งยืนยันว่า “ระบบเผาผลาญพัง” เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจริงที่เกิดจากการโหมกระหน่ำลดเพื่อที่จะให้น้ำหนักตัวน้อยที่สุดให้เร็วๆ และเป็นภาวะที่ทรมานจิตใจพอสมควรเนื่องจากทั้งๆ ที่พยายามออกกำลังกายเท่าเดิมตลอด เท่ากับตอนน้ำหนักสุดท้ายที่จบรายการ แต่ก็กลับพบว่าน้ำหนักตัวค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไขมันค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ความสำเร็จของการลดน้ำหนักและไขมันนั้นไม่ใช่การที่จะลดให้เร็วที่สุด, ลดให้ได้มากที่สุด แต่ความสำเร็จจริงๆ คือการรักษาและอยู่กับรูปร่างและน้ำหนักที่เราพอใจได้นานที่สุดมากกว่า
การลดน้ำหนักและไขมันไม่ใช่แค่การทำ Cal in ให้น้อยกว่า Cal out อย่างเดียว การโหมลดเร็วเกินไปไม่ใช่ผลดี การลดเร็วๆ เช่นกันกลับจะกลายเป็นปัญหาในอนาคตไป
เปลี่ยนทัศนคติใหม่ การลดน้ำหนักและไขมันควรใช้เวลานาน การลดต่อสัปดาห์ไม่ควรลงเร็วมากจนเกินไปเพื่อรูปร่างและระบบเผาผลาญที่ดีต่อไปเป็นระยะเวลานานๆ
อ้างอิง
Fothergill E, Guo J, Howard L, Kerns JC, Knuth ND, Brychta R, et al. Persistent metabolic adaptation 6 years after “The Biggest Loser” competition. Obesity (Silver Spring). 2016.