เล่นเวท ตอนไหน กล้ามใหญ่เร็วที่สุด

161_muscle_p



งานทดลองที่นำมาอ้างอิงในบทความนี้เป็นการเปรียบเทียบว่าการ เล่นเวท ในช่วงเวลาไหนจะให้ผลดีกว่ากันระหว่างตอนเช้าหรือตอนเย็น

 

โดยทางผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มควบคุม: ไม่ออกกำลังกายอะไรเลย

กลุ่ม morning: เล่นเวท เทรนนิ่งตอนเช้า (07.00-09.00)

กลุ่ม afternoon: เล่นเวท เทรนนิ่งตอนหลังเที่ยงวัน (17.00-19.00)

 

note: ทางงานวิจัยเรียก afternoon ซึ่งปกติน่าจะเป็นตอนหลังเที่ยงวัน แต่รายละเอียดในตัวงานวิจัยระบุว่ากลุ่มนี้เวทเทรนนิ่งช่วง 17.00-19.00 ทาง P4F เลยจะขอเรียกว่ากลุ่มนี้เวทตอนเย็นจะเข้าใจง่ายกว่า

b1

โดยการทดลองนี้จะเปรียบเทียบเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาอย่างเดียว โดยให้อาสาสมัครเล่นท่าต่อไปนี้

Squat, Jump squat, leg press, leg extension

Untitled

ผลการทดลองเป็นไปตามรูป

พบว่ากลุ่มที่มีการ เล่นเวท เทรนนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเวลาเช้าหรือเย็นก็พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อต้นขาเพิ่มมากกว่ากลุ่มควบคุม

 

จากรูปแม้จะดูว่ากลุ่มที่ เล่นเวท ตอนเย็นจะมีการเปลี่ยนแปลงเยอะกว่ากลุ่มที่ เล่นเวท ตอนเช้า แต่เมื่อพิจารณาสถิติทางการวิจัยแล้วพบว่าสองกลุ่มนี้มีการเปลี่ยนแปลงไม่ต่างกัน นั่นหมายความว่าไม่ว่าจะออกกำลังกายตอนเช้าหรือเย็นก็ได้ผลไม่แตกต่างกัน

 

 

หลายคนอาจจะซีเรียสกับคำว่า “ดีที่สุด” เกินไปจนวิตกกังวลว่าถ้าไม่ทำอะไรให้ “ดีที่สุด” ก็จะไม่ได้ผล บางคนอาจจะได้ยินว่าออกกำลังกายตอนเช้าดีที่สุด พอไม่สามารถออกตอนเช้าได้ก็หมดกำลังใจว่าการออกกำลังกายตอนเย็นนั่นเหนื่อยเปล่า (เพราะถ้าออกตอนเช้าจะได้ผลมากกว่า) แต่จากงานทดลองนี้ทำให้ทาง P4F อยากเสนอว่า

  1. ไม่ว่าจะออกกำลังกายตอนไหน ยังไงก็ดีกว่าไม่ออกกำลังกายเลย (ทำดีกว่าไม่ทำ) ต่อให้เป็นสิ่งที่“ดีที่สุด” แต่ไม่สามารถทำได้ก็คือไม่ได้ทำ การลงมือทำสำคัญกว่า ถึงแม้จะทำสิ่งที่ “ดีน้อยกว่า” แต่ถ้าทำต่อเนื่องและนานพอก็ยังพอเห็นผลบ้าง
  2. จากการทดลองพบว่าไม่ว่าจะเช้าหรือเย็นก็ได้ผลไม่แตกต่างกัน ไม่จำเป็นต้องกังวล เลือกออกกำลังกายในช่วงเวลาที่เราว่างและพร้อมที่จะออกกำลังกายสำคัญกว่า

อ้างอิง

Sedliak M, Finni T, Cheng S, Lind M, Hakkinen K. Effect of time-of-day-specific strength training on muscular hypertrophy in men. Journal of strength and conditioning research / National Strength & Conditioning Association. 2009;23(9):2451-7.

 

PT_1hrr

(Visited 4,278 times, 1 visits today)

Last modified: May 9, 2019