o
หลายคนอาจจะใช้ “อาการปวด” มาบ่งบอกว่าการเล่นเวท, การบริหารกล้ามเนื้อนั้นมัน “ได้ผล” หรือไม่ เนื่องจากมองว่าอาการปวดนั้นน่าจะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อถูกใช้งานและเกิดการเสียหาย ซึ่งเมื่อมีการเสียหายก็ต้องได้รับการซ่อมแซมและทำให้กล้ามเนื้อนั้นเจริญเติบโตมากกว่าเดิม
อาการปวดหลังเล่นเวทไม่เกี่ยวข้องกับ exercise-induced muscle damage (EIMD)
หลายตำรากล่าวว่าการที่กล้ามเนื้อเจริญเติบโตนั้นต้องมีใยกล้ามเนื้อเสียหายจากการเวทเทรนนิ่งแล้วร่างกายจะพัฒนาโดยการเพิ่มขนาดของใยกล้ามเนื้อตามมา ทำให้หลายคนเข้าใจว่า ปวด = เสียหาย = โต ซึ่งดูสมเหตุสมผลดี
แต่จากการทดลองเปรียบเทียบให้อาสาสมัครเล่นเวทแล้วประเมินความปวดของตัวเองเทียบกับค่าผลเลือดที่บ่งบอกที่ความเสียหายของกล้ามเนื้อ (CK) พบว่าอาการปวดนั้นแทบไม่เกี่ยวข้องกับใยกล้ามเนื้อที่เสียหายเลยบางคนมีความเสียหายของกล้ามเนื้อที่วัดได้ทั้งๆ ที่ไม่มีอาการปวด[1]
นอกจากนี้ยังมีการค้นพบอีกว่าการที่พบเจอว่าการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อนั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับค่าผลเลือดที่เกี่ยวข้องกับใยกล้ามเนื้อเสียหายเลย [2] นั้นหมายความว่ากล้ามเนื้อสามารถโตได้โดยที่กล้ามเนื้อไม่ต้องเสียหายหนักๆ
สรุป
1.อาการปวดไม่ได้เป็นสัญญานที่บ่งบอกว่ากล้ามเนื้อมีการเสียหาย ดังนั้นอาการปวดไม่ได้หมายความว่าเล่นโดน กล้ามเนื้อที่ถูกทำงานนั้นไม่จำเป็นต้องปวดเสมอไป
2.การทำให้กล้ามเนื้อเจริญเติบโตนั้นไม่ได้หมายความว่าต้องทำให้กล้ามเนื้อเสียหาย แต่จะโตได้เมื่อมีการกระตุ้นการใช้งาน (ด้วยเวทเทรนนิ่ง) และโภชนาการที่ดี
อ้างอิง
1. Nosaka K, Newton M, Sacco P: Delayed-onset muscle soreness does not reflect the magnitude of eccentric exercise-induced muscle damage. Scand J Med Sci Sports 2002, 12(6):337-346.
2. LaStayo P, McDonagh P, Lipovic D, Napoles P, Bartholomew A, Esser K, Lindstedt S: Elderly patients and high force resistance exercise–a descriptive report: can an anabolic, muscle growth response occur without muscle damage or inflammation? J Geriatr Phys Ther 2007, 30(3):128-134.