คาร์ดิโอตอนท้องว่างไม่ได้เผาผลาญไขมันมากเท่าที่คิด

Cardio, Weight Training

P4F_Info_Heart_1

 

จากบทความตอนแรกที่ได้ยกตัวอย่างการศึกษาเทียบระหว่างกลุ่มที่กินอาหารก่อนคาร์ดิโอกับกลุ่มที่คาร์ดิโอตอนท้องว่างก็พบว่าทั้งสองกลุ่มนี้ลดน้ำหนักได้ไม่ต่างกัน

 

แต่จุดต่างอยู่ที่กลุ่มที่คาร์ดิโอตอนท้องว่างนั้นเกิดการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมากกว่า

 

หลายคนอาจจะยังโต้แย้งอยู่ว่าหากมีการกินอะไรก่อนไปคาร์ดิโอนั้นร่างกายก็น่าจะเอาพลังงานจากอาหารที่พึ่งกินเข้าไปนั่นแหละไปใช้ แล้วมันจะลดไขมันได้อย่างไร

 

วันนี้ก็มีอีกงานวิจัยนึงที่รวบรวมข้อมูลในหลายๆ งานวิจัยมาทำการวิเคราะห์ต่อ ส่วนนึงของการวิเคราะห์คือระดับการใช้ไขมันเป็นพลังงานที่เรียกว่า Lipid oxidation (ย่อ Lox)

ก็ได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม Postprandial state คือกลุ่มที่ได้รับอาหารเข้าไปแล้วระดับน้ำตาลในเลือดกำลังขึ้นสูงอยู่

 

เทียบกับกลุ่ม= Postabsorptive state ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับอาหารก่อนไปคาร์ดิโออย่างน้อย 3-5 ชั่วโมง ซึ่งร่างกายได้จัดการระดับน้ำตาลก็ได้กลับมาอยู่ในสภาวะปกติแล้ว ซึ่งระยะห่างระหว่างมื้ออาหารกับการคาร์ดิโอนี้ถือว่านานมากพอ

 

ผลที่ได้เป็นไปตามรูปข้างล่าง

กราฟในบทความ

พบว่ากลุ่ม Postprandial ที่พึ่งกินอาหารไปและยังมีระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงอยู่นั้นมีระดับการใช้ไขมันเยอะกว่ากลุ่ม Postabsorptive state โดยเฉพาะ ผญ พบว่าผลต่างระหว่างการกินหรือไม่กินอาหารก่อนคาร์ดิโอนั้นจะยิ่งต่างกันมาก

นี่เป็นอีกหลักฐานนึงที่สนับสนุนว่าทำไมเราควรจะกินอาหารก่อนคาร์ดิโอ

 

ความเชื่อที่ว่าการกินอาหารเข้าไปจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและร่างกายจะไม่เอาไขมันเอามาใช้เป็นพลังงานนั้นเป็นความเชื่อที่ฮิตมากแต่กลับไม่เคยมีหลักฐานอะไรมายืนยันเลยแต่กลับได้รับความนิยมค่อนข้างมาก

 

คนที่กินอาหารก่อนไปคาร์ดิโอสามารถใช้พลังงานจากไขมันได้ดีกว่า, ลดไขมันได้และเสียมวลกล้ามเนื้อน้อยกว่า แถมไม่ต้องทนหิวระหว่างการคาร์ดิโอด้วย

 

การที่เรานำความรู้มาประยุกต์ใช้นั้นจะทำให้เราสามารถได้ผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น ได้ผลสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้โดยที่ไม่จำเป็นต้องลำบากเกินความจำเป็น ไม่ต้องทรมานเกินความจำเป็น

 

อ้างอิง

  1. C. Henderson, B. L. Alderman, Determinants of resting lipid oxidation in response to a prior bout of endurance exercise. J Appl Physiol (1985) 116, 95-103 (2014).

 

608day

 

 

(Visited 964 times, 1 visits today)

Last modified: May 9, 2019