จริงหรือไม่ที่ฮอร์โมนส่งผลต่อการสะสมไขมันตามส่วนต่างๆ

Uncategorized

301_hormonefat_p-1

301_hormonefat_p-2

 

จริงหรือไม่ที่ฮอร์โมนส่งผลต่อการสะสมไขมันตามที่ต่างๆ

 

ไขมันบริเวณหน้าท้อง

 

คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสะสมไขมัน โดยคอร์ติซอลนั้นจะกระตุ้นให้เกิด Lipoprotein lipase (LPL) ที่ทำให้ตัวเซลล์ไขมันพร้อมที่จะสะสมไขมัน โดย LPL  จะไปจับกับ glucocorticoid receptor เพื่อบอกเซลล์ไขมันว่าให้พร้อมสำหรับการสะสมไขมัน

 

ซึ่งเซลล์ไขมันในบริเวณ Visceral (เซลล์ไขมันภายในร่างกาย ส่วนมากอยู่บริเวณภายในช่วงท้อง) นั้นมีปริมาณ receptor ตัวนี้เยอะ และมีปริมาณน้อยในบริเวณอื่นๆ เช่นใต้ผิวหนัง

 

ดังนั้นการที่คอร์ติซอลเยอะก็ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการสะสมในช่วงท้องได้มากกว่าบริเวณอื่นนั้นเป็นเรื่องจริง แต่อย่าลืมข้อเท็จจริงที่ว่าไขมันจะสะสมได้นั้นต้องมีสารอาหารส่วนเกินให้สะสม ดังนั้นควรบอกว่าการที่คุณมีไขมันสะสมในบริเวณนี้เยอะคือคุณได้รับพลังงานเยอะเกินไป และคอร์ติซอลเร่งให้เกิดการสะสมมากขึ้น

 

ไขมันที่สะสมบริเวณ midaxillary skinfold

 

มีกระแสกล่าวไว้ว่าไขมันบริเวณหลังตอนบนและกลางนี้เกิดจากไทรอย์ที่ผิดปกติ

แต่ข้อมูลการศึกษาพบว่าไม่เป็นเช่นนั้นโดยพบว่าบุคคลที่มีไขมันสะสมในช่วงนี้มากกลับกลายเป็นคนที่มี Free T3 มาก ซะด้วยซ้ำ โดยพบว่ายิ่งมีไขมันเยอะยิ่งมีการกระตุ้นไทรอยด์เยอะขึ้น ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นกระบวนการที่ร่างกายต่อต้านการสะสมไขมัน

 

ดังนั้นถ้าไทรอยด์มีผลต่อการสะสมไขมันบริเวณนี้จริง คนที่มีไขมันเยอะๆ (ซึ่งพบว่า Free T3 จะเยอะด้วย) ควรจะมีไขมันบริเวณช่วง midaxillary นี้น้อยกว่าคนปกติด้วยซ้ำ

 

Suprailliac (ห่วงยางรอบเอว)

 

มีกระแสกล่าวไว้ว่าระดับอินซุลินส่งผลต่อไขมันสะสมบริเวณห่วงยางรอบเอว

 

จากข้อมูลพบว่าอินซุลินมีผลต่อการนำสารอาหารเข้าสู่เซลล์ซึ่งนั้นร่วมไปถึงเซลล์ไขมันด้วย ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลด้านบนที่พบว่าคอร์ติซอลกระตุ้น LPL ซึ่งมีเยอะในเซลล์ไขมันช่วงภายในช่องท้อง ดังนั้นการเสริมฤทธิ์กันตรงนี้ทำให้เกิดการสะสมไขมันในช่องท้องซึ่งนั้นร่วมถึงด้านข้างอย่างห่วงยางรอบเอวด้วย

 

แต่อย่างไรก็ตาม การที่บอกว่าคนที่สะสมไขมันบริเวณนี้คือคนที่มีปัญหาการหลั่งอินซุลินนั้นถือว่าไม่ถูกต้องเท่าไร การที่จะมีไขมันสะสมคือการได้รับสารอาหารเกินความต้องการ และอินซุลิน (เมื่อร่วมกับคอร์ติซอล) อาจส่งเสริมการสะสมไขมันในบริเวณนี้

 

โดยสรุปแล้วเรื่องฮอร์โมนนั้นส่งผลต่อการกระจายตัวของการสะสมไขมันนั้นเป็นเรื่องจริงในระดับนึง แต่ไม่ได้เป็นไปตามที่ว่ากันตามอินเตอร์เนทเคลมไว้หมดซะทีเดียว ควรจะสนใจการคุมอาหารและการออกกำลังกายให้เหมาะสมเพื่อเป็นการลดไขมันโดยรวม และเมื่อไขมันโดยรวมลดจนทำให้ไขมันในจุดที่สะสมมากนั้นมันหายไปก็จะทำให้เราสามารถกำจัดไขมันได้อย่างที่ต้องการ

 

อ้างอิง

  1. Bjorntorp, Hormonal control of regional fat distribution. Hum Reprod 12 Suppl 1, 21-25 (1997).
  2. De Pergola, A. Ciampolillo, S. Paolotti, P. Trerotoli, R. Giorgino, Free triiodothyronine and thyroid stimulating hormone are directly associated with waist circumference, independently of insulin resistance, metabolic parameters and blood pressure in overweight and obese women. Clin Endocrinol (Oxf) 67, 265-269 (2007).
  3. Laurberg et al., Thyroid function and obesity. Eur Thyroid J 1, 159-167 (2012).
  4. L. Wajchenberg, Subcutaneous and visceral adipose tissue: their relation to the metabolic syndrome. Endocr Rev 21, 697-738 (2000).

 

 

(Visited 599 times, 1 visits today)

Last modified: May 10, 2019