ซ้าย – ขวา เล่นยังไง ให้ใหญ่เท่ากัน

155_balance_p

ร่างกายของคนปรกติธรรมดาทั่วไปล้วนมีความต่างกันของอวัยวะซีกซ้ายและซีกขวาทั้งที่ชัดเจนและไม่ชัดเจน ในเรื่องที่ชัดเจนจนรู้สึกได้คือพละกำลังของอวัยวะข้างที่ถนัดและไม่ถนัด ความต่างนี้เริ่มจากจุดเล็กๆเมื่อแรกเกิด และเริ่มต่างมากขึ้นเรื่อยๆจากกิจวัตรประจำวันทั่วๆไป เช่น ผุ้ที่ถนัดมือขวาก็มักจะใช้มือขวาในการประกอบกิจกรรมต่างๆโดยไม่ทันรู้ตัว เช่น เปิดประตูบ้าน หยิบของ ถือมือถือ หรือตักข้าวเข้าปาก ตรงกันข้ามกับมือข้างที่ไม่ถนัดที่ถูกใช้งานเป็นรอง
แน่นอนว่าร่างกายช่วงล่างก็เช่นกัน หลายๆคนเริ่มก้าวขาข้างที่ถนัดในการขึ้นรถเมย์ หรือใช้ในการเล่นกีฬาที่ใช้ขาเป็นหลัก เช่น ฟุตบอล และอื่นๆ

อีกทั้งยังมีกรณีที่เห็นได้ไม่ชัดมากนักถ้าไม่ผิดปรกติจริงๆ เช่น ขายาวไม่เท่ากัน มือยาวไม่เท่ากัน หรือระดับหัวไหล่ไม่เท่ากัน สะโพกคดงอ และอื่นๆอีกมากมาย เรียกได้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะทุกส่วน แต่โดยรวมแล้วถ้าไม่ทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันก็ไม่ใช่เรื่องน่าเป็นห่วงแต่อย่างใด

ทีนี้มาเข้าสู้เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเวทเทรนนิ่ง สิ่งสำคัญมากๆในการสร้างความสมดุลของร่างกาย นอกจากความแข็งแรงของมัดกล้ามเนื้อและข้อต่อแล้ว “ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ” ก็สำคัญไม่แพ้กัน

ผุ้ฝึกหลายๆท่านต้องประสบปัญหาความตึงตัวของกล้ามเนื้อสองข้างไม่เท่ากันอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น ฝึกท่า Barbell Bench Press เมื่อลดบาร์ลงมาจนสุดระยะที่กล้ามเนื้ออกซีกขวาตึงตัวแล้ว แต่อกซีกซ้ายเหมือนจะยังไม่ตึงเท่า พอได้ลองเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์จาก Barbell เป็น Dumbell โดยฝึกท่า Dumbell Bench Press ก็โดนบัดดี้ทักอีกว่าตอนผ่อนน้ำหนักลงมาข้างซ้ายลงลึกกว่าข้างขวา (เพราะอกซีกซ้ายมีความอ่อนตัวมากกว่าขวา ด้วยความตึงตัวที่เท่ากัน อกซีกซ้ายจึงต้องเหยียดตัวมากกว่า) พอปรับให้ผ่อนน้ำหนักลงมาเท่ากัน ก้เหมือนอกซ้ายเหยียดไม่สุดอีก

เมื่อประสบปัญหาเช่นนี้เรื่อยๆ เมื่อระยะเวลาผ่านไป กล้ามเนื้อทั้งสองซีกมีแนวโน้มจะขนาดไม่เท่ากัน และอาจจะส่งผลต่อความต่างของความแข็งแรงทางอ้อมด้วย ยังไม่รวมอันตรายที่เกิดขึ้นจากการฝึกอีก

***วิธีแก้ปัญหาและป้องกันไม่ให้สภาวะนี้เกิดขึ้นกับร่างกาย***
1. เริ่มสังเกตตัวเอง ผุ้ฝึกเวทเทรนนิ่งเพื่อเป้าหมายในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อย่อมต้องมีสติรู้คิดและเพ่งสมาธิอยุ่ที่การทำงานของกล้ามเนื้อตลอดการฝึก ฉนั้นการสังเกตตัวเองว่ามีกล้ามเนื้อมัดไหนที่ซีกซ้ายและขวาตึงตัวไม่เท่ากันจึงไม่ใช่เรื่องยาก และเมื่อพบเจอกล้ามเนื้อมัดที่มีปัญหาก็จดจำไว้

2. เริ่มทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยมีวิธีการยืด 2 วิธีด้วยกัน
2.1 ยืดแค่ข้างที่ตึงตัวมากกว่า เพื่อให้เริ่มมีความอ่อนตัวใกล้เคียงอีกข้างหรือเท่ากันเลยยิ่งดี
2.2 ยืดทั้งสองข้าง แต่มุมในการยืดทั้งสองข้างต้องเท่ากัน ฉนั้นข้างที่ตึงตัวมากกว่าย่อมต้องมีความทรมานมากกว่าข้างที่อ่อนตัวอยุ่แล้ว

3. ใช้ Dumbbell เล่นเป็นหลัก

3.1 ท่าที่สามารถใช้ดัมเบลและเล่นทีละข้างได้ ให้เล่นข้างที่แข็งแรงนอ้ยกว่าก่อน ถ้าได้เท่าไหร่ ข้างที่แข็งแรงกว่าก็เล่นตามเท่านั้น
3.2  ท่าที่ไม่สามารถเล่นทีละข้างได้ ให้ใช้ดัมเบล และสังเกตข้างที่แข็งแรงน้อยกว่า ถ้าข้างที่แข็งแรงน้อยกว่าเริ่มหมดแรงแล้วให้หยุด

(Visited 2,918 times, 1 visits today)

Last modified: May 9, 2019