ดื่มน้ำยังไงให้ออกกำลังกายได้ผลดี

Nutrition

เรื่องของการดื่มน้ำเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย

แต่ข้อมูลจากการวิจัยกลับพบว่าผู้ที่ออกกำลังกายส่วนมากนั้นไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการดื่มน้ำซักเท่าไร
จากข้อมูลพบว่าหลายๆ คนมักจะออกกำลังกายโดยที่ดื่มน้ำน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

การที่ดื่มน้ำน้อยนั้นอาจส่งผลไม่ดีต่อร่างกายในขณะออกกำลังกายได้หลายรูปแบบและทำให้รู้สึกว่าการออกกำลังกายเหนื่อยเกิ
นความจริง (perceived exertion) ซึ่งตรงนี้ทำให้ไม่สามารถออกกำลังกายได้เข้มข้นเท่าที่ควรซึ่งจะทำให้การใช้พลังงานลดลง
ถ้าเป็นการเวทเทรนนิ่งก็ฝึกไม่เข้มพอที่จะกระตุ้นกล้ามเนื้อให้เหมาะสมได้

โดยเฉพาะสำหรับเมืองไทยที่เป็นเมืองร้อนด้วยแล้วจะเสี่ยงต่อภาวะลมแดดและตะคริวได้ง่ายอีกด้วย
ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับการดื่มน้ำให้มากๆ

 

    ดื่มน้ำยังไงให้ได้ผลดีกับการออกกำลังกาย

     เลือกเครื่องดื่มเกลือแร่ยังไงดี

เครื่องดื่มเกลือแร่เป็นเครื่องดื่มที่ถูกออกแบบมาเพื่อชดเชยคาร์โบไฮเดรตที่ถูกเผาผลาญเป็นพลังงาน
รวมถึงอิเล็กโทรไลต์ที่สูญเสียไปผ่านเหงื่อ

ปริมาณของคาร์บ (น้ำตาล) ที่แนะนำจะอยู่ในช่วง 5-10% ของปริมาตร
ก็เหมาะสมสำหรับกับชดเชยน้ำที่สูญเสียไประหว่างการออกกำลังกายอย่างหนักและยาวนานเกิน 1 ชม (ย้ำว่าอย่างหนัก)
เมื่ออ้างอิงจากคำแนะนำตรงนี้ก็สามารถตัดน้ำอัดลมออกไปได้เลยเพราะปริมาณน้ำตาลในน้ำอัดลมนั้นมากเกินไปและไม่เหมาะสม
สำหรับที่จะดื่มเพื่อชดเชยน้ำในระหว่างการออกกำลังกายอย่างหนัก

สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักให้ระวังปริมาณเครื่องดื่มเกลือแร่ด้วยเพราะน้ำตาลตรงนี้อาจจะทำให้ผลรวมสารอาหารต่อวันเกิน
ได้และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผลเท่าที่ควร

อ้างอิง

1. Position of the American Dietetic Association, Dietitians of Canada, and the American College of Sports Medicine:
Nutrition and athletic performance, Journal of the American Dietetic Association. 2009; 109: 509-27.

2. American College of Sports Medicine, Position stand: Exercise and fluid replacement, Medicine and Science in
Sports and Exercise. 2007; 39: 377-90.
3. Pritchett K, et al. Chocolate milk: a post-exercise recovery beverage for endurance sports. Med Sport Sci. 2012; 59:
127-34.
4. Position of the American Dietetic Association, Dietitians of Canada, and the American College of Sports Medicine:
Nutrition and athletic performance, Journal of the American Dietetic Association. 2009; 109: 509-27.
5. American College of Sports Medicine, Position stand: Exercise and fluid replacement, Medicine and Science in
Sports and Exercise. 2007; 39: 377-90.

(Visited 518 times, 1 visits today)

Last modified: May 8, 2019