เครื่องที่ใช้หลักการ electrical impedance จะมีตัวแป้นตัวนำให้จับ (แบบชนิดมือถือ) หรือให้ยืน (แบบชนิดตาชั่ง) โดยใช้หลักการปล่อยกระแสไฟฟ้าจากแป้นนึงไปยังอีกแป้นนึง ซึ่งกระแสไฟฟ้านั้นก็จะต้องเดินทางผ่านร่างกายที่สัมผัสแป้นแต่ละด้าน ถ้าร่างกายมีไขมันในร่างกายเยอะก็จะเหมือนมีฉนวนไฟฟ้าซึ่งจะทำให้กระแสไฟฟ้านั้นไหลได้ช้า เครื่องมือก็จะคำนวณจากข้อมูลตรงนั้นแล้วเทียบกลับไปว่าร่างกายนั้นมีไขมันอยู่เท่าไร
ดูแล้วก็นับว่าเป็นวิธีการวัดเปอร์เซนต์ไขมันในร่างกายที่ง่ายและสะดวกดี แต่ทาง P4F นั้นไม่ได้แนะนำการวัดแบบนี้เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี
ดื่มน้ำน้อยจะทำให้ผลการวัดเปลี่ยนไป
พบว่าเมื่อร่างกายอยู่ในสภาพมีน้ำในร่างกายน้อย (dehydrate) ทำให้ร่างกายมีการนำไฟฟ้าน้อยลง ทำให้การอ่านค่าด้วยวิธีนี้เพี้ยนไปได้ 5 kg
การวัดก่อนหรือหลังออกกำลังกายก็ทำให้การวัดค่าเปลี่ยนไป
จากการทดลองพบว่าการออกกำลังกายโดยการวิ่งเหยาะๆ เป็นเวลา 90-120 นาที ทำให้การอ่านค่ามวลส่วน Fat free mass (บางคนเรียก LBM = Lean body mass หรือมวลส่วนที่หัก นน ไขมันแล้ว) ด้วยวิธีนี้เพี้ยนไปได้ถึง 12 kg ซึ่งจะกระทบต่อการคำนวณเปอร์เซนต์ไขมัน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการวัด ด้านล่างเป็นข้อสรุปจากการรวบรวมข้อมูลวิจัยว่าปัจจัยใดบ้างที่กระทบต่อการวัดด้วยวิธี electrical impedance
1.ระยะความยาวของแขน (ในกรณีที่ใช้เครื่องแบบมือจับ) และระยะความยาวของขา (กรณีใช้เครื่องแบบยืน)
2 การดื่มหรือทานอาหารก่อนวัด (ตามข้อมูลวิจัยแนะนำให้อดอาหารคืนนึงก่อนวัดถึงจะตัดปัจจัยข้อนี้ทิ้ง)
3.การออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้สูญเสียเกลือแร่, อุณหภูมิ จนกระทบต่อการไหลของกระแสไฟฟ้า
4. โรคหรือบางภาวะที่ส่งผลทำให้สมดุลเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ ซึ่งจะกระทบต่อการไหลของกระแสไฟฟ้า
อ้างอิง
Dehghan M, Merchant AT. Is bioelectrical impedance accurate for use in large epidemiological studies? Nutrition journal. 2008;7:26.