ทำไมสัดส่วนลด แต่น้ำหนักไม่ลด

 

190_why_p

จากประสบการณ์ในการให้บริการคำปรึกษาเทรนออนไลน์, อบรมเวิร์คชอป ที่ผ่านมานั้น ทางผู้เข้าร่วมบางคนมีความแปลกใจว่าทำไมเมื่อทำเริ่มลดน้ำหนักอย่างจริงจังแล้วแต่น้ำหนักไม่เห็นลดลง แต่กลับพบว่าสัดส่วนลดลง ใส่เสื้อผ้าหลวมขึ้น

หลายคนอาจเคยได้ยินคำอธิบายสำหรับเหตุการณ์นี้ว่า “ไขมันเบากว่ากล้ามเนื้อ” คำพูดนี้ฟังดูแปลกๆ เพราะไขมัน 1 kg ก็หนักเท่ากับกล้ามเนื้อ 1 kg

แต่สิ่งที่ถูกต้องก็คือ “ไขมันมีความหนาแน่นน้อยกว่ากล้ามเนื้อ” ซึ่งจากสูตรความหนาแน่นตามความรู้พื้นฐานที่เราเคยเรียนนั้นคือ

ความหนาแน่น = มวล/ปริมาตร

อาจตีความได้ว่ามวล 1 kg เท่ากันนั้น ไขมันที่มีความหนาแน่นน้อยกว่านั้นจะมีปริมาตรมากกว่า (กินพื้นที่มากกว่า) กล้ามเนื้อที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า


Screenshot 2015-09-02 19.02.40

จากรูปจะเห็นได้ว่าไขมันและกล้ามเนื้อที่หนัก 5 lb (ประมาณ 2.3 kg) เท่ากันนั้นจะเห็นได้ว่าปริมาตรของไขมันนั้นเยอะกว่ากล้ามเนื้อค่อนข้างมาก

Screenshot 2015-09-02 19.02.46

รูปข้างบนเป็นรูปของไขมันที่หนัก 1 lb (ประมาณ 0.45 kg) ก็มีขนาดใหญ่กว่าฝ่ามือได้ ดังนั้นหากเป็นการลดน้ำหนักที่ถูกวิธีที่เน้นการลดไขมันเป็นหลักนั้น ถึงแม้จะลดได้น้ำหนักน้อยจนแทบไม่เห็นความต่างบนตาชั่งก็ตาม แต่ปริมาณไขมันที่หายไปนั้นก็อาจจะเยอะพอที่จะทำให้สัดส่วนเปลี่ยนแปลงได้

men_ads

ดังนั้นการประเมินและติดตามการลดน้ำหนักด้วยตาชั่งเพียงอย่างเดียวนั้นอาจจะไม่เพียงพอ ทาง P4F แนะนำว่าควรติดตามโดย

1.ตาชั่ง

2.สายวัด วัดสัดส่วนแต่ละส่วนเก็บไว้เปรียบเทียบ ถึงแม้น้ำหนักจะไม่ลด สัดส่วนก็อาจจะลดก็ได้

3.การวัดไขมันในร่างกาย การลดน้ำหนักที่ดีคือการลดส่วนของไขมัน (ไม่ใช่ส่วนของกล้ามเนื้อ) ดังนั้นถ้าสัดส่วน %ไขมันในร่างกายลดลงก็ถือว่าการลดน้ำหนักนั้นได้ผล การที่น้ำหนักลดเพราะกล้ามเนื้อนั้นไม่ได้ทำให้เราดูรูปปร่างดี เพราะกล้ามเนื้อนั้นมีความหนาแน่นมาก (จากรูปข้างบนจะเห็นว่า 3 kg นั้นมีปริมาณนิดเดียว) และการที่เสียมวลกล้ามเนื้อไปนั้นก็จะทำให้ระดับการเผาผลาญตกลงซึ่งจะทำให้การลดไขมันต่อๆ ไปนั้นยากขึ้นด้วย

ws_mhp1

caliper copy

(Visited 12,128 times, 1 visits today)

Last modified: May 10, 2019