ท่าเดียวกัน แต่ทำไมแต่ละที่สอนเล่นไม่เหมือนกัน

137_which_p

เป็นคำถามที่คงความสงสัยให้กับทั้งผู้ฝึกใหม่ และ ผู้ฝึกที่มีประสบการณ์ล้วนต่างต้องได้พบ และ ล้วนเคยตั้งคำถามให้กับตัวเอง ครั้งหนึ่งเมื่อย้อนกลับไปถึงวันที่ผู้ฝึกเป็นผู้ฝึกใหม่ สิ่งแรกที่ผู้ฝึกเรียนรู้ท่าฝึกคือ การดูภาพ ดูวีดีโอ หรือ การถูกถ่ายทอดจากผู้ฝึกที่ฝึกมาก่อน ในความเป็นจริงจะพบว่าท่าฝึกเดียวกัน กลับมีลักษณะการฝึกที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่นการฝึก Dumbbell Bench press บางครั้งพบว่าถูกอธิบายว่าขณะฝึกให้ดันดัมเบลล์ขึ้นตรงๆ ในขณะที่บางครั้งกลับพบว่าถูกอธิบายไว้ว่าให้ดันดัมเบลล์เข้ามาชิดกันในจังหวะสุดท้าย หรือจะเป็นท่าฝึกไหล่ด้านข้าง side lateral ที่บางครั้งถูกอธิบายให้เหยียดแขนสุด และ บางครั้งถูกกล่าวไว้ว่าให้งอข้อศอกตั้งฉาก จริงๆแล้วข้อเท็จจริงคืออะไร และ เราจะทราบได้อย่างไรว่าท่าฝึกไหนถูก หรือ ผิด ในขณะที่ผู้ฝึกทั้งสองก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนากล้ามเนื้อในการฝึกที่ต่างกันด้วย

 

ธรรมชาติการทำงานของกล้ามเนื้อ

ในความเป็นจริงธรรมชาติการทำงานของกล้ามเนื้อนั้น น้อย และ ยากมากที่จะทำงานโดยกล้ามเนื้อมัดเดียว และ/หรือ ออกแรงมัดเดียวมากที่สุด เป็นธรรมดาที่กล้ามเนื้อมัดอื่นๆนั้นจะต้องออกแรงช่วยพยุง และ ต้านทานน้ำหนักที่ฝึกเป็นลำดับและสัดส่วนที่ต่างๆกันนั่นเอง แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะใช้กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งโดยที่ไม่ให้อีกมัดต้องออกแรง หรือ กล่าวคือ “ไม่มีความตึงตัวหรือเคลื่อนไหว” เช่นการฝึกต้นแขนด้านหน้าด้วยท่าฝึก Concentration curl ซึ่งตามทฤษฎีกล่าวว่าเป็นท่าฝึก Isolation ซึ่งมักเข้าใจว่าเป็นท่าที่กล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้าออกแรงล้วนๆเพียงอย่างเดียว ในทางทฤษฏีแล้ว “ใช่” แต่ในทางปฏิบัตินั้น แม้ว่ากล้ามเนื้อไหล่ บ่า อก จะไม่ได้เป็นกล้ามเนื้อหนัก แต่ไหล่ บ่า อก รวมทั้งปลายแขนนั้นก็มีการตึงตัว และ ออกแรงพยุง(หรือแม้แต่ออกแรงยก)โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

การเติบโตและพัฒนาของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อไม่เรียนรู้ท่าฝึก จดจำนน.ที่ยก หรือ แม้แต่นับจำนวนครั้งที่ยก กล้ามเนื้อเป็นเพียงหน่วยยนต์ของร่างกายที่ถูก “สั่ง” ให้ทำหน้าที่หดตัว คลายตัว ตึงตัว ตามกลไกการทำงานของร่างกาย และ เมื่อมัดกล้ามเนื้อนั่นๆถูกกระตุ้นด้วยความหนักที่เพียงพอ และ รับสัญญาณให้เจริญเติบโต กอปรกับได้รับสารอาหารที่เพียงพอ กล้ามเนื้อนั้นก็จะ “โต” เพียงแค่นั้น กล้ามเนื้อเองไม่ได้เรียนรู้ท่าฝึกหรือ จำนวนครั้ง เพียงแต่รับสัญญาณว่า ไหว หรือ ไม่ไหว และ ต้องซ่อมแซม หรือ เสริมสร้าง อย่างไร

 

ฝึกแบบไหนถึงจะ “โต/พัฒนา” ได้

คำตอบของเรื่องนี้อาจจะทำลายความเข้าใจ และ แนวความคิดที่ดีเก่าๆเกี่ยวกับการฝึกไป แต่เราย่อมต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่ว่าจะฝึกท่าฝึกแบบไหนก็ “โต/พัฒนาได้เหมือนกัน” ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ง่ายที่สุดข้อเดียว คือ

 

ถ้า? การเคลื่อนไหวนั้นๆ สร้างแรงต้าน และ กระตุ้นกล้ามเนื้อมัดนั้นๆได้เพียงพอ
ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวแบบไหน ถ้าในที่สุดแล้วการเคลื่อนไหวนั้นๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อมัดนั้นๆที่ต้องการฝึกได้ถูกใช้งาน และ รับแรงต้านได้หนักพอที่จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อต้อง “พัฒนา” กล้ามเนื้อก็จะ “พัฒนา” เช่น การพัฒนากล้ามเนื้อหัวไหล่ ไม่ว่าจะฝึก Shoulder Press หรือ Handstand push up ณ.จุดสุดท้ายแล้ว หากการเคลื่อนไหวนั้นๆหนัก และ กระตุ้นกล้ามเนื้อได้มากพอ ผู้ฝึกก็สามารถพัฒนากล้ามเนื้อได้เหมือนกัน

(Visited 259 times, 1 visits today)

Last modified: May 9, 2019