ยิ่ง Squat หนัก ยิ่งวิ่งได้เร็ว (สำหรับนักกีฬา)




165_squat_p

 

นักวิ่งไม่จำเป็นต้องฝึกด้วยการวิ่งอย่างเดียว โดยเฉพาะนักวิ่งระยะสั้นที่เน้นที่ไปความเร็วในการวิ่ง (หรือกีฬาอื่นๆ ที่อาศัยความเร็วในการวิ่งเช่น ฟุตบอล, บาสเกตบอล) นั้นก็ควรจะฝึกเวทเทรนนิ่งด้วย

 

งานวิจัยนี้ (1) ได้นำนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลมาหาความสัมพันธ์ระหว่าง

น้ำหนักมากที่สุดที่ใช้ในท่า squat

ความเร็วในการวิ่ง 40 หลา

 

โดย น้ำหนักมากที่สุดที่ใช้ในท่า squat นั้น เป็นปริมาณ ที่เปรียบเทียบระหว่าง น้ำหนักตัว เช่น

RM/BM = 1.9 หมายความว่าสามารถเล่นท่า squat ได้หนักเป็น 1.9 เท่าของ น้ำหนักตัว

ถ้าคนนี้มี น้ำหนักตัว 50 kg ก็หมายความว่าสามารถเล่นท่า squat ได้ 95 kg

 

ผลการเปรียบเทียบได้ตามกราฟด้านล่าง

Untitled

โดยกราฟในแกน y คือค่า RM/BM ซึ่งเป็นค่าที่บอกว่าใช้อาสาสมัครใช้ น้ำหนักsquat ได้เป็นกี่เท่าของ น้ำหนักตัว

ส่วนแกน x คือระยะเวลาที่ใช้ในการวิ่ง 40 หลา (ประมาณ 37 m) พบว่านักกีฬาที่สามารถเล่นท่า squat ได้หนักกว่าก็สามารถวิ่งได้เร็วกว่าคนที่ squat ได้ น้ำหนักน้อยกว่า

 

นอกจากนี้งานวิจัยในนักฟุตบอลก็พบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาที่มากขึ้นก็ทำให้นักกีฬาสามารถกระโดดได้สูงขึ้นด้วย (2) ซึ่งตรงนี้ก็เป็นผลดีต่อกีฬาอย่างฟุตบอลที่มีการกระโดดโหม่ง หรือบาสเกตบอลที่การกระโดดสูงก็ค่อนข้างได้เปรียบ

 

เราสามารถเอาข้อมูลตรงนี้มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในกีฬาต่างๆ ที่ต้องการความเร็วในการวิ่ง, ความสูงในการกระโดด โดยเพิ่มโปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาให้แก่นักกีฬา

 

อ้างอิง

  1. McBride JM, Blow D, Kirby TJ, Haines TL, Dayne AM, Triplett NT. Relationship between maximal squat strength and five, ten, and forty yard sprint times. Journal of strength and conditioning research / National Strength & Conditioning Association. 2009;23(6):1633-6.

 

  1. Wisloff U, Castagna C, Helgerud J, Jones R, Hoff J. Strong correlation of maximal squat strength with sprint performance and vertical jump height in elite soccer players. British journal of sports medicine. 2004;38(3):285-8.

604_arti2

PT_1hrr

 

 

(Visited 1,081 times, 1 visits today)

Last modified: May 9, 2019