ส่วนมากมีความ เชื่อกันว่าการคาร์ดิโอที่ถูกนั้นต้องทำมากกว่า 20 นาทีขึ้นไปเพราะร่างกายจะใช้พลังงานที่กินในวันนั้นในช่วง 20 แรกของการคาร์ดิโอ หลังจากนั้นจะเริ่มใช้พลังงานที่สะสมไว้ ดังนั้นจึงเชื่อกันว่าถ้าอยากให้ร่างกายดึงไขมันมาใช้ก็ต้องคาร์ดิโอมากกว่า 20 นาทีขึ้นไป
เลข 20 นาทีนี้มาจากไหน?
หลายคนน่าจะลอง คิดดูว่า ร่างกายคนเราก็ไม่เหมือนกัน อาหารการกินก็ไม่เหมือนกัน ระยะห่างระหว่างมื้อก่อนออกกำลังกายก็ไม่เท่ากัน ความเข้มของการออกกำลังกายก็ไม่เท่ากัน ทำไมทุกคนต้องเริ่มใช้ไขมันตอนนาทีที่ 20 ไปแล้ว?
จริงๆ แล้ว หลักการนำไขมันมาใช้เป็นพลังงานจะคำนึงถึงปริมาณ Cal In กับ Cal Out เป็นหลัก ซึ่งการคาร์ดิโอนั้นจะเป็นการเพิ่ม Cal Out ดังนั้นในวันๆ นึงถ้าทำมากพอที่จะทำให้เกิด cal in < cal out นั้นร่างกายก็ต้องเอาไขมันมาใช้แน่นอน ซึ่งไม่จำเป็นว่าการนำไขมันมาใช้เป็นพลังงานนั้นจะต้องเกิดระหว่างช่วงคาร์ ดิโอเท่านั้น
จากการทดลองได้ทำการเปรียบเทียบระหว่าง
1. กลุ่มที่ออกกำลังกายรอบเดียวต่อเนื่อง
2. กลุ่มที่ออกกำลังกายรอบละ 10 นาที หลายๆ รอบ
โดยทั้งสองกลุ่ม นั้นให้ออกกำลังกายเป็นระยะเวลารวม 40 นาที/วัน, 5 วัน/สัปดาห์ ข้อแตกต่างอยู่ที่กลุ่มแรกออกกำลังกายรวดเดียว 40 นาที แต่อีกกลุ่มออกกำลังกาย 4 รอบ รอบละ 10 นาที
จากการทดลองในช่วง 6 เดือน ผลสรุปออกมาได้ตารางดังนี้
ออกรวดเดียว | แบ่งรอบละ 10 นาที | |
มวลไขมันช่วง 6 เดือน | – 8.2 kg | – 7.5 kg |
สังเกตได้ว่าการ แบ่งการออกกำลังกายเป็นหลายรอบๆ สั้นๆ แต่เวลารวมเท่ากันกับการออกกำลังกายรอบเดียวนานๆ นั้นผลที่ได้แทบไม่แตกต่างกันเลย
ดังนั้นการออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องทำรอบเดียวนานๆ เพื่อที่จะลดไขมัน แต่สำคัญที่ระยะเวลารวมมากกว่า
ปล. จริงๆ แล้วงานทดลองนี้ทำการทดลองนานถึง 18 เดือน การลด นน ในช่วง 6 เดือนแรกเป็นไปได้ด้วยดี แต่มีเหตุการณ์ที่น่าสนใจที่เกิดในช่วงหลังจาก 6 เดือนแรกไปแล้ว ซึ่งทาง PlanforFIT จะลงบทความวิเคราะห์ข้อผิดพลาดของการที่ตั้งเป้าไดเอทที่นานกว่า 6 เดือน และวิธีแก้ไขในบทความต่อไปครับ
อ้างอิง
JM Jakicic et al. Effects of intermittent exercise and use of home exercise equipment on adherence, weight loss, and fitness in overweight women. Journal of the American Medical Association 1999 282: 1554-1560.