บ่อยครั้งในบางคนพบว่าการออกกำลังกายแล้วรู้สึกคันตามตัว แขน ขา ในบางคนก็เป็นลมพิษขึ้นมา โดยเฉพาะการออกกำลังกายประเภท cardio exercise เช่นการวิ่ง เป็นต้น
เนื่องจากขณะที่เราออกกำลังกาย อาจจะมีการเพิ่มขึ้นของ สารที่ชื่อ histamine ซึ่งทำให้เกิดอาการคัน
ในบางคนก็จะมีอาการผิวนูนแดงเป็นลมพิษขึ้นได้ ซึ่งเกิดจากที่มีการปล่อยสาร histamine เพิ่มขึ้นในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว
ในบางคนที่ผิวบอบบางผิวแพ้ง่าย หากมีเหงื่อไหลออกมาก็จะยิ่งกระตุ้นให้ภาวะอาการคันเป็นรุนแรงกว่าเดิมได้
วิธีป้องกัน
-ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศและเหงื่อได้ดี
-ถ้ามีอาการไม่มากอาจจะเปลี่ยนระดับความเข้มของการฝึกให้ลดลง
-บางคนอาจมีการคันตอนออกกำลังกายหลังกิน aspirin ก็ควรเว้นระยะห่างระหว่างการกินยานี้กับช่วงเวลาที่ออกกำลังกาย
-ในกรณีที่มีอาการคันมากขณะที่ออกกำลังกายแนะนำให้หยุดซักครู่เพื่อดูอาการ หลายคนจะมีอาการดี แต่ถ้าอาการคันเยอะขึ้นเริ่มมีหายใจขัด เหนื่อย แนะนำ ไปโรงพยาบาลเพื่อทำการประเมินต่อไป
-ในบางคนที่มีอาการคันมากแนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการปรึกษา
การออกกำลังกายต่อไปบ่อย ๆ จะทำให้อาการคันดีขึ้นไหม ???
ณ ปัจจุบัน หากคนที่มีอาการเหลานี้และยังออกกำลังกายเช่นเดิมก็จะยังมีอาการคันอยู่ เนื่องจากพบว่ายังมีการหลัง histamine ออกอยู่ และยังไม่สามารถ desenitization หรือมีคำแนะนำสำหรับโปรแกรมที่ชัดเจนสำหรับการออกกำลังกายเพื่อทนต่อภาวะ คัน ดังกล่าวจนหายไปได้ (แม้มีการศึกษาอยู่และต้องรอการศึกษาต่อไป) การป้องกันในปัจจุบัน จึงแนะนำว่า ในกลุ่มคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหารที่กระตุ้นนั้น แนะนำให้ออกกำลังกาย โดยการลดระดับที่ความเข้มของการฝึกและระยะเวลาลงให้ต่ำกว่าระดับที่พบว่าเคยมีอาการคัน เพื่อลดการการทำงานของระบบหัวใจ พบว่าสามารถลดอาการดังกล่างได้ ร่วมกับ ใส่เสื้อที่ระบายเหงื่อ ระบายความร้อน เพราะว่า ความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากการออกกำลังกายก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่างได้เช่นกัน
อ้างอิง
Volcheck GW, Li JT. Exercise-induced urticaria and anaphylaxis. Mayo Clin Proc. 1997;72:140–7.
Hirschmann JV, Lawlor F, English JS, Louback JB, Winkelmann RK, Greaves MW. Cholinergic urticaria. A clinical and histologic study. Arch Dermatol. 1987;123:462–7.
Horan RF, Sheffer AL, Briner WW. Physical allergies. Med Sci Sports Exerc. 1992;24:845–8.
Niijima-Yaoita F1, et al, Roles of histamine in exercise-induced fatigue: favouring endurance and protecting against exhaustion. Biol Pharm Bull. 2012;35(1):91-7.
The natural history of exercise-induced anaphylaxis: survey results from a 10-year follow-up study.
Shadick NA, Liang MH, Partridge AJ, Bingham III CO, Wright E, Fossel AH, Sheffer AL
J Allergy Clin Immunol. 1999 Jul; 104(1):123-7.