อ่านสักนิดก่อนคิดจะซื้อ BCAAs

Supplement, Tips and Technique

97_bacc_p_1

BCAAs เป็นกรดอะมิโน 3 ตัวที่ประกอบไปด้วย leucine, isoleucine และ valine ซึ่งมีคุณสมบัติที่คนเล่นเวทสนใจเนื่องจาก

–      leucine สามารถกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนกล้ามเนื้อได้

–      เมื่อกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนจะเป็นการหยุดการสลายโปรตีนเพื่อมาใช้เป็นพลังงาน

ดังนั้นคนเล่นเวทที่ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อเลยเข้าใจว่าในช่วงเพิ่มกล้ามเนื้อก็ควรจะเสริม BCAAs เพื่อกระตุ้นในเกิดการสังเคราะห์โปรตีนกล้ามเนื้อเยอะๆ เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ

ส่วนคนที่ต้องการจะลด นน และไขมันก็เข้าใจว่าจะเสริม BCAAs เพื่อป้องกันการสลายกล้ามเนื้อที่อาจจะเกิดขึ้นได้แต่ในความเป็นจริงนั้น จำเป็นต้องเสริม BCAAs หรือไม่ก็ขอให้พิจารณาในแต่ละข้อต่อไปนี้

 

อาหารโปรตีนสูงมีBCAAsอยู่แล้ว

อย่างเนื้อสัตว์ส่วนมากมี BCAAs โดยเฉพาะในส่วนของ leucine อยู่ค่อนข้างมากอยู่แล้ว อย่างเนื้อสัตว์ดิบ 100 g (ให้โปรตีนประมาณ 20-25 g) จะมี leucine ประมาณ 2 g ซึ่งปริมาณ leucine ขนาดนี้เป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับที่วางขายอยู่ในรูปอาหารเสริม ดังนั้นการทานอาหารแบบเพิ่มกล้ามเนื้อหรือลดไขมันที่มีการคำนวณปริมาณสารอาหารและโปรตีนอยู่แล้วนั้นก็ได้รับ BCAAs และ leucine  มากพอที่จะทำให้เกิดการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนกล้ามเนื้อแล้ว ไม่ได้มีความจำเป็นต้องทานเสริมเข้าไปอีก

 

LeucineในBCAAsมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนเท่านั้น

ถ้าทาน BCAAs อย่างเดียวก็จะทำให้เกิดการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนได้ แต่การที่จะเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้นั้นยังต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีก ซึ่งนั่นก็คือกรดอะมิโนจำเป็นตัวอื่นๆ ที่นอกเหนือจาก BCAAs ดังนั้นการทาน BCAAs อย่างเดียวก็เหมือนการเรียกช่างก่อสร้างมาสร้างบ้านแต่ไม่มีวัสดุสำหรับสร้างบ้านมาด้วย

 

Wheyก็มีBCAAs

หลายคนที่เสริม BCAAs เพื่อป้องกันการสลายตัวของกล้ามเนื้อก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดูดี แต่ส่วนมากราคา BCAAs ค่อนข้างแพงกว่า whey มาก ซึ่ง whey เองมี leucine ประกอบอยู่ถึง 12% นั่นหมายความว่าการทานเวย์ให้ได้โปรตีน 24 g จะได้ leucine  2.88 g ซึ่งก็เป็นปริมาณพอๆ กับที่วางขายเป็น BCAAs เดี่ยวๆ นอกจากราคาที่ถูกกว่าแล้ว ตัว whey ยังให้กรดอะมิโนครบถ้วน

สรุปคือถ้ามีการวางแผนอาหารมาดีแล้ว ก็ไม่ได้มีความจำเป็นต้องเสริม BCAAs อีก และในบางกรณีที่ต้องการจะเสริมจริงๆ อาจจะเลือกใช้เวย์โปรตีนแทนก็เป็นทางเลือกที่ทำได้

 

 

 

 

(Visited 14,578 times, 1 visits today)

Last modified: May 8, 2019