เจลบาร์ vs ลูกเกด อันไหนช่วยให้วิ่งได้อึดขึ้น ทนขึ้นกว่ากัน

Nutrition, Tips and Technique

256_jell_p

 

ปัจจุบันการวิ่ง (หรือการแข่งขันประเภทที่ใช้เวลานานๆ อย่างมาราธอน, ปั่นจักรยาน) กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากการออกำลังกายในรูปแบบนี้เป็นการออกกำลังกายที่ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานทำให้หลายคนอาจจะหมดแรงไปซะก่อน ซึ่งความรู้ในเชิงโภชนาการสำหรับการออกกำลังกายนั้นก็ได้แนะนำว่าระหว่างการออกกำลังกายหรือการแข่งขันประเภทนี้ควรได้รับน้ำและคาร์บให้เพียงพอเพราะสองอย่างนี้ส่งผลต่อสมรรถภาพของผู้ออกกำลังกายโดยตรง

 

ซึ่งก็มีอาหารเสริมช่วยสำหรับตรงนี้มากมาย ไม่ว่าจะอยู่ในรูปเจลหรือเป็นแท่ง (bar) ซึ่งค่อนข้างมีราคาค่อนข้างสูงทีเดียว ทำให้หลายคนหันไปใช้อาหารที่มีคาร์บแต่ราคาถูกกว่าแทนอย่างกล้วย แต่ก็อาจจะยังสงสัยอยู่ว่าสามารถทดแทนกันได้หรือไม่

 

ในเชิงการให้พลังงานจากคาร์บนั้นไม่แตกต่างกัน

 

เนื่องจากคาร์บก็คือคาร์บ ถ้าให้จำนวนคาร์บเท่ากัน ไม่ว่าจะมาจากแหล่งไหนก็ให้พลังงานเท่ากัน

 

อาหารเสริมบอกว่าเป็นคาร์บดูดซึมไว ร่างกายเอาไปใช้อย่างรวดเร็ว

 

จากการทดลองเปรียบเทียบระหว่าง “ลูกเกด” กับ “อาหารเสริม” ซึ่งงานวิจัยอันนึงใช้อาหารเสริมในรูปเจลและอีกงานนึงใช้ในรูปแท่ง

 

ในอาหารเสริมนั้นก็มีคาร์บประเภทที่มี Glycemic index ที่สูงมากๆ (105) ซึ่งในกรณีที่อาหารนั้นๆ ไม่มีใยอาหารและไขมันในปริมาณที่มากพอก็จะทำให้คาร์บที่มี Glycemic index ขนาดนี้ถูกดูดซึมในร่างกายได้ไวมาก

 

ส่วนลูกเกดนั้นมี Glycemic index = 60-70 ซึ่งค่าน้อยกว่าคาร์บในอาหารเสริม ถ้าอยู่ในกรณีเดียวกับข้างบนก็จะถูกดูดซึมได้ช้ากว่า

 

ซึ่งก็พบว่าระดับอินซุลินในกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมก็เพิ่มสูงมากกว่าจริงๆ

 

แต่ผลการประเมินสมรรถภาพในการวิ่งกลับพบว่าทั้งสองกลุ่มมีสมรรถภาพพอๆ กัน นั่นคือในภาพรวมแล้วทั้งลูกเกดและอาหารเสริมนั้นให้ผลไม่แตกต่างกัน ด้วยข้อมูลตรงนี้ทำให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างค่า Glycemic index นั้นไม่ได้ทำให้เห็นผลแตกต่างกันเท่าไร จากตรงนี้อาจทำให้การใช้แหล่งคาร์บอื่นๆ อย่างกล้วยก็คงไม่ต่างกันมากนัก

 

ดังนั้นการจะเลือกใช้อะไรระหว่างแหล่งคาร์บทั่วๆ ไปหรืออาหารเสริมนั้นก็คงแล้วแต่ละบุคคล เพราะบางคนอาจจะให้น้ำหนักไปทางการพกที่ง่ายกว่าของอาหารเสริมในรูปเจลหรือบาร์ บางคนอาจจะคำนึงถึงงบประมาณที่ประหยัดสำหรับลูกเกดหรือกล้วย แต่สำหรับเรื่องผลต่อสมรรถภาพนั้นไม่แตกต่างกัน

 

อ้างอิง

  1. Kern M, Heslin CJ, Rezende RS. Metabolic and performance effects of raisins versus sports gel as pre-exercise feedings in cyclists. J Strength Cond Res. 2007;21(4):1204-7.
  2. Too BW, Cicai S, Hockett KR, Applegate E, Davis BA, Casazza GA. Natural versus commercial carbohydrate supplementation and endurance running performance. J Int Soc Sports Nutr. 2012;9(1):27.

 

Indepth-2

pt_banner copy

 

(Visited 238 times, 1 visits today)

Last modified: May 10, 2019