การฝึกในแบบพิระมิดหรือการฝึกจากน้ำหนักที่มากจำนวนครั้งที่น้อยไปสู่น้ำหนักที่เบาลงและจำนวนครั้งที่มากกว่า
ข้อดีของการฝึกแบบพิระมิด
– ลำดับการทำงานของกล้ามเนื้อตามทฤษฏีจำนวนครั้ง หากวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับลำดับการให้พลังงานของกล้ามเนื้อที่สัมพันธ์กับระยะเวลาและจำนวนครั้งแล้ว การฝึกแบบพิระมิดนั้นถูกออกแบบมาได้สมเหตุสมผลกว่า เนื่องจากการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อเริ่มจาก ให้พลังงานได้มากระยะเวลาสั้นๆ เช่น ATP-CP ให้พลังงานได้มากในระยะเวลาที่สั้น(ประมาณ 6วินาที) ก่อนที่กล้ามเนื้อจะใช้กระบวนการ Anaerobic glycolytic ในขั้นตอนต่อไปซึ่งให้พลังงานได้น้อยลงและใช้ระยะเวลานานกว่าเป็นต้น กอปรกับหลักความเป็นจริงที่เซตแรกสุดจะเป็นเซตที่เรามีพลังงานสำรองมากที่สุด และ แข็งแรงที่สุด ดังนั้นการยกน้ำหนักที่มากที่สุดในเซตแรกสุดนั้นสมเหตุสมผล ในขณะที่เซตต่อๆไปนั้นร่างกายอ่อนแอลง ระดับพลังงานสะสมลดลง ฟื้นตัวได้ช้าลง ก็ได้ถูกฝึกใน น้ำหนักลดลงตามสภาวะกล้ามเนื้อในขณะนั้นๆ
– มีโอกาศที่กล้ามเนื้อจะได้ถูกฝึกมากกว่า
ในกลุ่มผู้ฝึกที่ประสบการณ์น้อยการฝึกด้วย น้ำหนักมากก่อนในเซตแรกนั้นมีแนวโน้มที่จะฝึกได้หนักขึ้นในเซตต่อๆไป เนื่องจากพลังงานสำรองที่น้อยลงตามลำดับ อีกทั้งมีแนวโน้มที่ผู้ฝึกเหล่านี้อาจเริ่มเซตแรกได้ไม่หนักเท่าที่ควรแต่ก็ยังประสบความสำเร็จในการฝึกเซตต่อๆไปด้วยเนื่องจากอาการล้าที่ส่งผลจากน้ำหนักที่มากในเซตแรกนั่นเอง
ข้อเสียของการฝึกแบบพิระมิด
– ความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ
เนื่องจากการที่ต้องยกน้ำหนักที่มากที่สุดในเซตจริงเซตแรกนั้น อาศัยความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมและวอร์มอัพร่างกายพอสมควร การเตรียมความพร้อมที่ไม่ถูกต้องนั้นมีโอกาสเสี่ยงต่อการบาดเจ็บสูงกว่าในแบบพิระมิดหัวกลับที่เริ่มจาก น้ำหนักที่เบากว่า
-มีเซตที่ฝึกในขอบข่ายการฝึกต่างๆแค่ท่าละ 1เซต
ด้วยความที่รูปแบบการฝึกนั้นใช้ขอบข่ายในการฝึกต่างๆออกไปในแต่ละโซนการฝึก
ทนทาน – จำนวนครั้งมากกว่า 12
สร้างกล้ามเนื้อ – จำนวนครั้ง 8 -12
ความแข็งแรง – ต่ำกว่า 8-10ลงมา
ทำให้แต่ละท่านั้นได้ฝึกในโซนดังกล่าวเพียง 1 – 2เซตเป็นอย่างมากเท่านั้น
– มีโอกาสที่จะฝึก น้ำหนักในเซตท้ายๆได้เบากว่าความเป็นจริง
เนื่องจากการฝึกที่หนักมากๆในช่วงต้นๆของการฝึก อาการล้าและการขาดพลังงานสำรองทำให้ในเซตท้ายๆของการฝึกอาจฝึกได้เบากว่าความเป็นจริงบ้าง