เทคนิค Force-Reps

Force Reps เป็นเทคนิคที่ใช้ในการผ่านจุดอ่อนแรงโดยลักษณะการใช้เทคนิคนี้คือเมื่อผู้ฝึกฝึกไปจนถึงจุดที่อ่อนแรงไม่สามารถยกต่อไปได้และการเคลื่อนไหวหยุดลง ณ จุดช่วงใดๆของการฝึก และให้ผู้ช่วยออกแรงพยุงและยกน้ำหนักขึ้นโดยที่ผู้ฝึกออกแรงเต็มที่เพื่อผลักน้ำหนักให้ได้มากที่สุดจนสุด และปล่อยมือให้ผู้ฝึกต้านน้ำหนักลงเองทั้งหมด เช่นการฝึก BenchPress ผู้ฝึกฝึกจนถึงจุดที่ไม่สามารถออกแรงได้ทำให้บาร์ค้างอยู่ที่ช่วงกลางของระยะ และผู้ช่วยฝึกเข้ามาออกแรงแตะบาร์เบาๆแค่พอที่จะให้ผู้ฝึกนั้นผลักบาร์ต่อไปได้จนสุด และปล่อยมือให้ผู้ฝึกต้านน้ำหนักลงทั้งหมดเอง

หลักการและเหตุผล ในการฝึกลักษณะของการอ่อนแรงของการฝึกเป็นลักษณะการอ่อนแรงสะสมดังนั้นในครั้งสุดท้ายที่ผู้ฝึกยกไม่ไหวนั้นไม่ได้แปลว่าผู้ฝึกไม่มีแรงเหลืออยู่เลย เพียงแต่แรงที่มีไม่มากพอที่จะเอาชนะน้ำหนักนั้นๆนั่นเอง ดังนั้นการช่วยดันน้ำหนักเพียงเบาๆก็สามารถทำให้ผู้ฝึกสามารถฝึกต่อจนผ่านจุดอ่อนแรงนั้นไปได้แล้วนั่นเอง ซึ่งหากมองมุมกลับการช่วยผลักเบาๆของผู้ฝึกนั้นเป็นการทำให้น้ำหนักที่ยกนั้นมีน้ำหนักเบาลงเล็กน้อยนั่นเอง เช่น ผู้ฝึกฝึกด้วยน้ำหนัก 100kgs เมื่อถึงจุดอ่อนแรงที่ผู้ฝึกไม่สามารถออกแรงเอาชนะน้ำหนัก 100kgs นี้ได้การโดยมีผู้ช่วยฝึกเข้ามาช่วยพยุงน้ำหนักไว้ 10kgs ทำให้น้ำหนักบาร์ที่ยกจริงๆเหลือ 90kgs เพียงพอที่จะทำให้ผู้ฝึกออกแรงต้านเอาชนะน้ำหนักและฝึกต่อไปได้นั่นเอง ลักษณะการใช้เทคนิคนี้เป็นเทคนิคพื้นฐานในการฝึกที่ผู้ฝึกส่วนใหญ่มักจะนำเข้ามาใช้ในการฝึกเสมอ จริงๆแล้วลักษณะการใช้งานของ force rep มักถูกเรียกสั้นๆว่าการ เซฟ หรือ ซัพพอร์ต การเซฟนี้มีหลายประเภทและหลายลักษณะ ลักษณะใหญ่ๆที่พบในฟิตเนส ในยิมต่างๆได้แก่ การเซฟแบบเบาๆ และ การเซฟแบบตามแรง การเซฟแบบเบาๆที่ว่ากันนี้คือ force rep แบบคลาสสิคนี้นี่เอง ส่วนการเซฟแบบตามแรงคือการใช้ force rep แบบผู้ช่วยฝึกออกแรงช่วยในลักษณะค่อนข้างมากตามแนวการเคลื่อนไหวของผู้ฝึกตามจังหวะของการยก โดยปกติการเซฟแบบเบาๆนั้น เมื่อถึงจุดที่ผู้ฝึกอ่อนแรงแล้วนั้นแม้จะมีผู้ช่วยเซฟจังหวะการผลักน้ำหนักก็จะช้าลงตามเนื่องจากความอ่อนแรง เพราะผู้เซฟเพียงแค่แตะเบาๆเพื่อให้ผู้ฝึกสามารถดันน้ำหนักได้เอง แต่การเซฟแบบตามแรงนั้นผู้ช่วยฝึกจะออกแรงดันบาร์ขึ้นโดยคำนึงถึง “จังหวะในการยกมากกว่าความแรงของการช่วยเซฟ” นั่นเอง

(Visited 544 times, 1 visits today)

Last modified: May 9, 2019