ความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกายนั้นส่วนนึงมาจากการที่ระหว่างการออกกำลังกายนั้นจะทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนสภาวะให้มีความเป็นกรดมากขึ้น
จากตรงนี้ทำให้มีแนวคิดในการรักษาสมดุลกรดด่างในร่างกายขึ้นมา เพราะถ้าหากลดการเปลี่ยนสภาวะให้มีความเป็นกรดได้ก็จะทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าลดลงและออกกำลังกายได้มากขึ้น
ตัวนึงที่ถูกนำมาศึกษาคือโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือเบกกิ้งโซดาที่ใช้ในการทำขนมและประกอบอาหารนั่นเอง
ได้ผลจริงมั้ย?
ในหลายๆ การศึกษาวิจัยพบว่าได้ผลแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยพบว่า
รู้สึกเหนื่อยน้อยลง (Rated of Perceived Exertion) 7%
และอีกงานวิจัยนึงพบว่ามีผลตามตารางข้างล่าง
จากที่เห็นคือเทียบกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับเบกกิ้งโซดากับยาหลอก
พบว่ากลุ่มที่ได้เบกกิ้งโซดานั้นสามารถเพิ่มจำนวนเรปได้มากกว่า 1.9-6.7%
คิดกลับเป็นตัวเลขคือถ้าเดิมยกได้ 10 ครั้ง การเสริมเบกกิ้งโซดาจะยกได้ 10.19 – 10.67 ครั้ง โดยขึ้นอยู่กับท่าบริหาร
[quote text_size=”medium”]เบกกิ้งโซดามีโซเดียมราว 30% ถ้ากินตามโดสที่แนะนำจะได้รับโซเดียมในปริมาณที่มาก ถึงแม้เราไม่ต้องกลัวโซเดียมในเรื่องลดน้ำหนักแต่ในเชิงสุขภาพก็ไม่ควรได้รับมากเกินไปอยู่ดี
[/quote]ปริมาณที่ใช้ในการวิจัยที่พบว่าได้ผลตามที่รายงานข้างบน
ปริมาณที่ใช้จริงๆ คือ 0.3-0.4 g/ นน ตัว 1 kg นั่นคือถ้า นน ตัว 50 kg ต้องทานเบกกิ้งโซดา 15-20 g
นี่คือปริมาณที่ได้รับการทดสอบแล้วว่าต้องระดับนี้ถึงจะเห็นผลตามที่รายงานข้างบน
หมายเหตุ: บางงานก็ใช้ 0.3 g/ นน ตัว 1 kg แต่ไม่ได้ผลก็มีค่อนข้างมาก แสดงว่าปริมาณดังกล่าวอาจจะไม่มากพอที่จะทำให้เห็นผล
บางคนอาจจะรู้สึกว่าทานน้อยกว่านี้ก็เห็นผล ส่วนนึงอาจจะมาจาก Placebo effect จากที่ P4F เคยนำเสนอบทความเรื่อง Placebo effect ไป
(ลิงค์บทความดังกล่าว: http://goo.gl/WhWQuq )
สารอาหารที่ใช้ในการทดลองนั่นคือเบกกิ้งโซดานั่นเอง โดยพบว่าหากผู้ใช้ได้รับฟังการบรรยายสรรพคุณไปก่อนแล้วก็พบว่าคนที่ได้ยาหลอกก็ได้ผลคล้ายๆ กับกลุ่มที่ได้เบกกิ้งโซดาจริงๆ ทั้งนี้ส่วนนึงเนื่องจากเบกกิ้งโซดานั้นได้ผลเพิ่มประสิทธิภาพเพียงเล็กน้อย
แน่นอนว่าตอนที่เราตัดสินใจจะทานเสริมนั้นเราก็ต้องได้รับการฟังบรรยายสรรพคุณไปแล้ว นั่นคือเราก็เข้าข่าย Placebo effect ไปแล้ว ดังนั้นการที่เราเสริมน้อยกว่าระดับแนะนำนั้นยิ่งไม่น่าจะเห็นผลตามที่แนะนำในงานวิจัย
สรุป
1.โซเดียมไบคาร์บอเนตหรือเบกกิ้งโซดาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายได้ แต่มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ตั้งข้อสงสัยถึงประสิทธิภาพของเบกกิ้งโซดา
2.ขนาดที่ใช้ในการวิจัยคือ 3-0.4 g/ นน ตัว 1 kg
3.เบกกิ้งโซดามีโซเดียมราว 30% ถ้ากินตามโดสที่แนะนำจะได้รับโซเดียมในปริมาณที่มาก ถึงแม้เราไม่ต้องกลัวโซเดียมในเรื่องลดน้ำหนักแต่ในเชิงสุขภาพก็ไม่ควรได้รับมากเกินไปอยู่ดี
อ้างอิง
1.Krustrup P, Ermidis G, Mohr M. Sodium bicarbonate intake improves high-intensity intermittent exercise performance in trained young men. J Int Soc Sports Nutr. 2015;12:25.
2.Price MJ, Cripps D. The effects of combined glucose-electrolyte and sodium bicarbonate ingestion on prolonged intermittent exercise performance. J Sports Sci. 2012;30(10):975-83.
3.Carr AJ, Slater GJ, Gore CJ, Dawson B, Burke LM. Reliability and effect of sodium bicarbonate: buffering and 2000-m rowing performance. Int J Sports Physiol Perform. 2012;7(2):152-60.