สำหรับคนที่ออก กำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งนั้นทานโปรตีนเยอะๆ ก็เพื่อกระตุ้นกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งการสังเคราะห์โปรตีนเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อ แต่การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อาจจะทำให้การพัฒนาการช้าลง
จากการวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า “แอลกอฮอร์มีผลให้ระดับการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อลายลดลง” เมื่อ ร่างกายได้รับแอลกอฮอล์เข้าไปก็ทำให้การสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อลายลด ลงเป็นระยะเวลานานถึง 24 ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับแอลกอฮอล์เข้าไปแล้ว นอกจากผลในการลดระดับการสังเคราะห์โปรตีนแล้วยังพบว่าแอลกอฮอล์มีผลในการ เพิ่มการสลายโปรตีน (protein degradation) อีกด้วย นับว่ามีผลสองเด้งที่ทำให้พัฒนาการของกล้ามเนื้อลดลง แทนที่โปรตีนที่พยายามทานเข้าไปนั้นจะถูกนำไปใช้เสริมสร้างกล้ามเนื้อแบบ เต็มที่ กลับกลายเป็นว่าร่างกายเอาไปใช้สำหรับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้น้อยลงแถม ยังสลายเอาโปรตีนกล้ามเนื้อที่มีไปซะอีก
นอกจากนี้ข้อมูล การทดลองในสัตว์ทดลองแล้ว ยังมีการทดลองในเซลล์กล้ามเนื้อของคนก็พบผลไปในทิศทางคล้ายๆ กัน โดยพบว่าระดับการสังเคราะห์โปรตีนลดลงไป เซลล์กล้ามเนื้อลดการตอบสนองต่อ anabolic hormones อย่าง IGF-1 ลง 30% และระดับการตอบสนองต่อ insulin ประมาณ 60%
นอกจากนี้ยังพบ ว่าเมื่อได้รับปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่า 1.5 g/ นน ตัว 1 kg จะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่สำคัญต่อกล้ามเนื้ออีกด้วย ระดับเทสโทสเตอโรนลดลง 23% หลังจากได้รับแอลกอฮอล์ปริมาณดังกล่าวไปแล้วประมาณ 10 ชั่วโมง
สรุปสั้นๆ
- แอลกอฮอล์มีผลทำให้ระดับการสังเคราะห์โปรตีนลดลง
- แอลกอฮอล์มีผลทำให้ระดับการสลายโปรตีนเพิ่มขึ้น
- แอลกอฮอล์ในปริมาณมากๆ (1.5 g/ kg) ทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนลดลง
การดื่มในปริมาณน้อยๆ และไม่บ่อยนั้นก็สามารถทำได้ แต่การดื่มมากๆ บ่อยๆ คงไม่เป็นผลดีต่อการสร้างกล้ามเนื้อซักเท่าไร
อ้างอิง
1. Preedy VR, Keating JW, Peters TJ: The acute effects of ethanol and acetaldehyde on rates of protein synthesis in type I and type II fibre-rich skeletal muscles of the rat. Alcohol Alcohol 1992, 27(3):241-251.
2. Pruznak AM, Nystrom J, Lang CH: Direct central nervous system effect of alcohol alters synthesis and degradation of skeletal muscle protein. Alcohol Alcohol 2013, 48(2):138-145.
3. Hong-Brown LQ, Frost RA, Lang CH: Alcohol impairs protein synthesis and degradation in cultured skeletal muscle cells. Alcohol Clin Exp Res 2001, 25(9):1373-1382.
4. Valimaki M, Tuominen JA, Huhtaniemi I, Ylikahri R: The pulsatile secretion of gonadotropins and growth hormone, and the biological activity of luteinizing hormone in men acutely intoxicated with ethanol. Alcohol Clin Exp Res 1990, 14(6):928-931.