2 สาเหตุที่ทำไมคุณลดน้ำหนักไม่สำเร็จ?

Course Online

 

2 สาเหตุที่ทำไมคุณลดน้ำหนักไม่สำเร็จ?

คุณคิดว่าต้องออกกำลังกายถึงจะลดน้ำหนักได้

หลายคนตั้งใจจะลดน้ำหนักก็จะคิดถึงการออกกำลังกาย แต่ปัญหาติดอยู่ที่ว่า

  • ไม่มีเวลาออกกำลังกาย
  • ไม่ชอบออกกำลังกาย

 

แต่คุณรู้หรือไม่ว่าจากข้อมูลที่พบว่าแนวโน้มจำนวนคนที่มีภาวะอ้วนนั้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ นั้นไม่ได้มาจากการกินที่เยอะขึ้นหรือการออกกำลังกายที่น้อยลง แต่สาเหตุมาจากการที่คนเรามี “กิจกรรมทางกาย” หรือ NEAT (Non-Exercise Activity Thermogenesis) ลดน้อยลงต่างหาก

 

ซึ่งตัวกิจกรรมทางกายนี้แหละที่ดูว่าจะเบาๆ ไม่เหนื่อยเท่ากับการออกกำลังกายแต่จริงๆ แล้วเผาผลาญพลังงานในแต่ละวันได้เยอะที่เดียว อย่างรูปข้างล่างจะเห็นได้ว่าคนที่ทำงานที่นั่งเยอะๆ (Seated work) แต่แตกต่างกันที่กลุ่มนึ่งเน้นทางานโดยการนั่งอย่างเดียวเทียบกับอีกกลุ่มที่มีการขยับตัวลุกขึ้นยืนบ้างนั้นก็ใช้พลังงานแตกต่างกันเกือบ 200-300 kcal ต่อวันแล้ว ซึ่งพลังงานเท่านี้เทียบเท่าได้กับการวิ่งออกกำลังกายประมาณ 20-30 นาที ซึ่งหมายความว่าการปรับเปลี่ยนแค่เล็กน้อยนี่ก็เป็นการเพิ่มการใช้พลังงานได้เหมือนกัน

ซึ่ง “กิจกรรมทางกาย” นั้นยังมีอีกหลายชนิด ซึ่งไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แถมยังเผาผลาญพลังงานได้ดีอีกด้วย ตรงนี้เป็นจุดที่หลายคนมองข้ามไปว่าเราสามารถลดน้ำหนักได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโออย่างเดียว

 

คุณคุมอาหารแต่ด้วยวิธีการที่ไม่ดีพอ (หรือไม่เหมาะกับตัวเรา)

 

บางคนอาจจะทดลองคุมอาหารมาแล้ว แต่การจะคุมอาหารให้เป๊ะๆ นั้นก็ยากเกินไปสำหรับคนที่เริ่มหัดทำ ตรงนี้ทำให้หลายคนใช้วิธีการกะประมาณแทน โดยเทียบว่าตอนนี้กินน้อยกว่าเมื่อก่อนก็น่าจะทำให้ลดน้ำหนักได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคนเรามักจะประเมินว่าคนเรามักจะประเมินผิดไป โดยมักจะประเมินว่ากินน้อยลงแล้วแต่จริงๆ กินเยอะกว่าที่คิดไปเยอะทีเดียว (กินจริง 2081 kcal แต่คิดว่ากินแค่ 1028 kcal)

 

ปัจจุบันก็มีการคุมอาหารโดยการกะประมาณค่าที่ปรับปรุงใหม่ที่เรียกว่า My Plate ที่แบ่งสัดส่วนจานอาหารว่าควรจะสัดส่วนของอาหารจำพวก แป้ง, โปรตีน, ผัก เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการประมาณค่าที่ดีพอที่จะทำให้สามารถคุมและลดน้ำหนักได้แบบไม่ต้องนับสารอาหารและแคลอรี่

 

อ้างอิง

  1. Rosenkilde M, Auerbach P, Reichkendler MH, Ploug T, Stallknecht BM, Sjodin A. Body fat loss and compensatory mechanisms in response to different doses of aerobic exercise–a randomized controlled trial in overweight sedentary males. Am J Physiol Regul Integr Comp Physiol. 2012;303(6):R571-9.
  2. Thivel D, Aucouturier J, Metz L, Morio B, Duche P. Is there spontaneous energy expenditure compensation in response to intensive exercise in obese youth? Pediatr Obes. 2014;9(2):147-54.
  3. Lichtman SW, Pisarska K, Berman ER, Pestone M, Dowling H, Offenbacher E, et al. Discrepancy between self-reported and actual caloric intake and exercise in obese subjects. N Engl J Med. 1992;327(27):1893-8.

 

(Visited 1,099 times, 1 visits today)

Last modified: September 26, 2019