การฝึกที่มีระยะของการทำงานของกล้ามเนื้อที่กว้างนั้นทำให้ผู้ฝึกควบคุมการฝึกกล้ามเนื้อได้ค่อนข้างยากเนื่องจากระยะของการฝึก และ มุมของกล้ามเนื้อที่ต่างกันมากในแต่ละช่วงนั่นเอง ดังนั้นแนวคิดในการนำเทคนิค Partial reps มาใช้
เทคนิค Partial reps คือ การฝึกท่าฝึกใดท่าฝึกหนึ่ง โดยการกำหนดช่วงระยะการฝึกเพียงช่วงใดช่วงหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมดแนวการเคลื่อนไหว เช่นการฝึกกล้ามเนื้อหน้าอกด้วยท่า Dumbbell Bench Press ที่ปกติจะลดดัมเบลล์ลงจนสุดและดันขึ้นจนสุดต้นแขน การทำ Partial reps มาใช้โดยการกำหนดให้จุดสูงสุดเมื่อดันดัมเบลล์ขึ้นนั้น หยุดอยู่ในตำแหน่งที่ อีก2 – 3นิ้วถึงจะครบระยะจริง (ดันขึ้นสุดโดยที่ยังมีมุมงอข้อศอกอยู่เล็กน้อย) และค้างไว้จุดนั้นสักครู่เพื่อลดการออกแรงของไทรเซบออกไปในจังหวะท้ายๆของการฝึกอก
ยังมีการทำเทคนิคนี้ไปใช้ได้อีกในหลายลักษณะ เพื่อเน้นการควบคุมกล้ามเนื้อในมุมที่แคบลง เช่นการฝึก Machine fly โดยการออกแรงบีบมือเข้ามาจนสุด แต่ในขณะที่ผ่อนแรงกางมือออกนั้น ผ่อนแรงลงแค่ครึ่งทางของการฝึกทั้งหมดแล้วออกแรงซ้ำบีบมือกลับมาทันที เพื่อเน้นการทำงานของช่วงที่อกด้านในได้รับการออกแรงมากที่สุดเท่านั้น
อีกตัวอย่างที่ได้ผลดีคือการฝึกไหล่ข้างด้วยท่า Side lateral raises โดยการยกดัมเบลล์ขึ้นไปจนสุด พร้อมกันต้านลงช้าๆ เพียงแค่ครึ่งทางของขาลงเท่านั้น แล้วออกแรงยกต่อซ้ำทันทีโดยไม่มีโอกาสให้มือลงมาเลยระดับเอว
Iso – Dynamic คือลักษณะการฝึกที่นำการฝึกแบบเกร็งค้าง iso-metric มาใช้ร่วมกับการฝึกแบบปกติ เพื่อสร้างแรงตึงและแรงเค้นในกล้ามเนื้อประกอบกัน การออกแรงแบบ Iso-metric หรือการเกร็งค้างนั้นมีคุณสมบัติที่ทำให้กล้ามเนื้อมีแรงตึงตัวมากขึ้นโดยที่ความยาวของกล้ามเนื้อไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้จะเป็นจังหวะที่เราสามารถรรับความรู้สึกของกล้ามเนื้อได้มากที่สุด หลังจากนั้นต่อด้วยการฝึกตามปกติทันที ทำให้กล้ามเนื้อที่เกร็งค้างจนล้านั้นได้ออกแรงต่อทำให้จุดนั้นล้ากว่าจุดอื่นๆเป็นจุดนำโฟกัสให้เราได้ควบคุมท่าฝึกได้ดีขึ้น
ตัวอย่างการทำเทคนิค iso-dynamic มาใช้กับการฝึกล้ามเนื้อปีกด้วยท่า Pulldown เริ่มการฝึกโดยการดึงบาร์ลงมาจนสุดเป็นจุดที่กล้ามเนื้อหลังหดตัวมากที่สุด แทนที่จะผ่อนแรงปล่อยบาร์กลับไป ให้เกร็งค้างไว้ที่จุดนี้อย่างน้อย 5 – 10วินาที แล้วค่อยผ่อนแรงต่อด้วยการฝึกแบบเคลื่อนไหวปกติอีก 10ครั้ง หรือจนครบจำนวนครั้งที่กำหนด
อีกตัวอย่างที่สามารถทำมาใช้ได้ผลดีในท่า Side lateral เช่นกัน เริ่มฝึกโดยการออกแรงยกดัมเบลล์ขึ้นจนสุด แทนที่จะผ่อนดัมเบลล์ลง ให้เกร็งค้างไว้ในจุดสูงสุดอย่างน้อย 5 –10วินาที ค่อยๆผ่อนลง แล้วฝึกต่ออีก 10ครั้ง หรือจนครบจำนวนครั้งที่กำหนด