3 ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับครีเอทีน

1.Myth: Buffered creatine (Kre-alkylyn) ดีกว่า creatine monohydrate

Buffered creatine อ้างทฤษฏีที่ว่าครีเอทีนจะถูกดูดซึมได้ดีในสภาพที่ pH สูงๆ (alkaline) ซึ่งในทางทฤษฏีนั้นอาจจะเป็นจริงก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วพบว่าคำกล่าวทางทฤษฏีที่ว่าสามารถดูดซึมได้ดีกว่านั้นคง ไม่ได้เยอะมากซักเท่าไร

จากการทดลองไปในปี 2012 [1] ได้ทำการเปรียบเทียบ buffered creatine กับ creatine monohydrate ว่าตัว buffered creatine นั้นสามารถเพิ่มระดับครีเอทีนและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายได้ดีกว่า creatine monohydrate หรือไม่

สิ่งที่ทางผู้ วิจัยพบก็คือระดับครีเอทีนในร่างกายนั้นไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับ buffered creatine หรือ monohydrate ซึ่งนั้นก็หมายความว่าในระยะเวลาที่เท่ากันนั้นตัว buffered creatine ไม่ได้แตกต่างหรือดีกว่าครีเอทีนแบบธรรมดา

2.Myth: Creatine Ethyl ester (CEE) ดีกว่า creatine monohydrate

เป็นครีเอทีนอีกรูปแบบนึงที่เกิดจากการพัฒนารูปแบบของครีเอทีน โดย CEE จะเปลี่ยนเป็นครีเอทีนในร่างกาย ดูดซึมได้เร็วกว่า

แต่ผลจากการทดลองพบว่า

1.CEE สลายตัวเร็วมาก (จากงานพบว่าค่าครึ่งชีวิตของ CEE ในเลือดน้อยกว่า 1 นาที) [2]

2.CEE ประสิทธิภาพในการเพิ่มระดับครีเอทีนในร่างกายนั้นไม่ได้ดีกว่า creatine monohydrate [3]

ดังนั้น CEE ยังไม่มีการทดลองที่พิสูจน์ให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพดีกว่า creatine monohydrate

3.Myth: Creatine-HCl ดีกว่า creatine monohydrate

เป็นครีเอทีนที่ ละลายน้ำได้ดีกว่ารูปแบบอื่นๆ  และมักถูกอ้างต่อว่ารูปแบบนี้ใช้ปริมาณครีเอทีนน้อยกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้วคำอ้างนี้ไม่เคยถูกยืนยันด้วยผลวิจัย ในอนาคตอาจจะมีการยืนยันผลออกมา แต่ในเมื่อปัจจุบันยังไม่มีการทดสอบยืนยันจึงเป็นคำกล่าวอ้างที่ยังไม่สมควร เท่าไร เมื่อมาดูทางทฤษฏีแล้วว่า creatine-HCl เกิดจากการนำโมเลกุลของครีเอทีนไปทำให้อยู่ในรูปเกลือ HCl เพื่อเพิ่มการละลายน้ำนั้น ตามหลักเคมีแล้วเมื่อเอาเกลือของครีเอทีนที่ว่านี้ไปละลายน้ำก็จะได้โมเลกุล ของ creatine และ Cl ซึ่งตัวโมเลกุลของ creatine นั้นก็ไม่น่าจะมีคุณสมบัติแตกต่างจากครีเอทีนธรรมดาๆ

หรือจะอ้างว่า ละลายน้ำได้ดีกว่าเลยเข้าสู่ร่างกายมากกว่าก็อาจจะเป็นไปได้ แต่เพื่อการนั้นแล้วมันคุ้มเงินกับที่ต้องจ่ายเพิ่มหรือไม่นั้นก็คงขึ้นกับ แต่ละคนไป

อ้างอิง

1.Jagim AR, Oliver JM, Sanchez A, Galvan E, Fluckey J, Riechman S, Greenwood M, Kelly K, Meininger C, Rasmussen C et alA buffered form of creatine does not promote greater changes in muscle creatine content, body composition, or training adaptations than creatine monohydrateJ Int Soc Sports Nutr 2012, 9(1):43.

2.Katseres NS, Reading DW, Shayya L, Dicesare JC, Purser GH: Non-enzymatic hydrolysis of creatine ethyl esterBiochem Biophys Res Commun 2009, 386(2):363-367.

3.Spillane M, Schoch R, Cooke M, Harvey T, Greenwood M, Kreider R, Willoughby DS: The effects of creatine ethyl ester supplementation combined with heavy resistance training on body composition, muscle performance, and serum and muscle creatine levelsJ Int Soc Sports Nutr 2009, 6:6.

(Visited 525 times, 1 visits today)

Last modified: May 8, 2019