เพิ่มสารอาหาร (แคลอรี่) เร็วเกินไป
การเพิ่มกล้าม เนื้อจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณสารอาหาร (ซึ่งก็คือการเพิ่มแคลอรี่ด้วยนั่นเอง) ก็ตาม แต่การเพิ่มแคลอรี่เร็วเกินไปก็อาจจะทำให้การเพิ่มกล้ามเนื้อไม่เป็นไปอย่าง ที่ตั้งใจก็ได้
อย่างแรกคือการ เพิ่มสารอาหารและแคลอรี่เร็วเกินไปนั้นอาจทำให้เราไม่สามารถทำตามโปรแกรม อาหารนั้นได้ ยกตัวอย่างเช่นปกติทานโปรตีนวันละ 100 g ต่อวัน (คิดเป็น นน เนื้อคร่าวๆ 400 g) แล้วเมื่อเข้าโปรแกรมอาหารเพิ่มกล้ามเนื้อก็เพิ่มเป็นทานโปรตีนวันละ 200 g (คิดเป็น นน เนื้อคร่าวๆ 800 g) สังเกตได้ว่าปริมาณสารอาหารที่เพิ่มเข้าไปนั้นนับว่าเพิ่มขึ้นเท่าตัวเลยที เดียว หลายคนจะประสบปัญหาที่ว่าทานไปเพียงแค่ 2-3 มื้อก็อิ่ม จุก และไม่สามาถทานมื้อที่เหลือได้ ซึ่งก็หมายความว่าไม่สามารถทานอาหารให้ได้ตามโปรแกรมที่วางไว้
อีกอย่างนึงก็ คือการที่เพิ่มสารอาหารและแคลอรี่เร็วเกินไปนั้นจะทำให้ร่างกายเราปรับตัว ไม่ทัน ซึ่งจะทำให้สารอาหารอย่างคาร์บและไขมันนั้นถูกนำไปสะสมเป็นไขมันมากขึ้น (โปรตีนถูกสะสมเป็นไขมันได้ยากกว่ามาก) ซึ่งจะทำให้นอกจากจะได้กล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้นก็ได้ไขมันเพิ่มมากขึ้นเกิน กว่าความจำเป็น
ดังนั้นควรที่จะ ค่อยๆ เพิ่มสารอาหาร (และแคลอรี่) เข้าไปเพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัวเข้ากับโปรแกรมอาหารใหม่ เช่นแต่ก่อนทานโปรตีนวันละ 100 g ก็ค่อยๆ เพิ่มเป็น 120 g, 140g ไปเรื่อยๆ จนได้จำนวนโปรตีนตามเป้าที่ต้องการ วิธีนี้จะทำให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัวกับการทีต้องทานมากขึ้นเรื่อยๆ และทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญมากขึ้นเพื่อตอบรับกับสารอาหารที่ได้รับมากขึ้น ทำให้มีไขมันสะสมเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด
ไม่คำนวณสารอาหาร
หลายๆ คนติดภาพกับ dirty bulk หรือก็คือการที่ทานแบบไม่คุมอาหาร ทานอาหารมากเกินไปจนทำให้มีไขมันสะสมมากขึ้น ซึ่งไขมันที่เพิ่มขึ้นมากนี้ทำให้เราต้องทำงานหนักในช่วงโปรแกรมลดไขมัน เพื่อที่จะกำจัดไขมันมากเกินไป
นอกจากนี้การที่ จะเพิ่มกล้ามเนื้อโดยที่มีไขมันสะสมมากนั้นก็ไม่เป็นผลดีเท่าไร เนื่องจากเซลล์ไขมันนั้นสามารถผลิต aromatase ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีระดับเอสโตรเจนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งระดับเอสโตรเจนที่สูงนี้ไม่เป็นผลดีต่อการสร้างกล้ามเนื้อซักเท่าไร
ดังนั้นการทาน อาหารเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อนั้น ควรจะคำนวณสารอาหารไว้ในระดับนึง ไม่ควรคิดว่าสามารถทานได้ตามอิสระโดยไม่คุม เพราะนอกจากจะทำให้มีไขมันเพิ่มมากเกินความจำเป็นแล้วยังทำให้ร่างกายอยู่ใน สภาวะที่ไม่เอื้อต่อการสร้างกล้ามเนื้อซักเท่าไร
เน้นท่า isolation มากเกินไป
ท่าออกกำลังกาย แบบ isolation สามารถโฟกัสไปที่กล้ามเนื้อที่จะบริหารได้ดี ลดการช่วยเหลือจากกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ ได้ก็ตาม แต่ท่าแบบ isolation นั้นก็มีข้อจำกัดที่ว่า นน ที่ใช้บริหารนั้นน้อยกว่ามาก ในทางกลับกันท่าแบบ compound สามารถใช้ นน ได้เยอะกว่า (เพราะมีกล้ามเนื้อมัดอื่นช่วยออกแรง)