3 เหตุผลที่ควรกินไขมันในช่วงลดน้ำหนัก

2

ความเชื่อเดิม: หากจะลด นน และไขมัน ควรจะลดปริมาณอาหารมันๆ และพวกไขมันให้น้อยลง

หลังจากที่ทาง P4F ได้เปิดโปรแกรมคำนวณอาหารให้ใช้งานกันนั้น หลายคนอาจมีคำถามว่า

“ทำไมไม่ว่าจะเลือกลด นน หรือเพิ่มกล้ามเนื้อ เวลาคำนวณออกมาแล้วต้องกินไขมันเท่ากัน”

ทาง P4F นั้นยึดหลักเหตุและผลเสมอ โดยจะสรุปสาเหตุในการตัดสินใจแนะนำดังนี้

ไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็น

เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายนั้นมีไขมันเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นการตัดสารอาหารอย่างไขมันออกไปจากอาหารนั้นเป็นเรื่องที่ไม่สมควร

ปัจจัยที่ทำให้อ้วน ไม่ใช่อาหารมันๆ หรือไขมัน

ปัจจัยที่ทำให้ อ้วนจริงๆ คือการที่ได้รับพลังงานเข้าไปมากกว่าที่ใช้ (cal in > cal out) หลายครั้งที่พบว่าตอนไดเอทของหลายๆ คนเน้นโปรตีนจนเกินไปจน cal in > cal out นั้นก็กลายเป็นว่า นน ไม่ลงซักที ดังนั้นโปรแกรมอาหารต่างๆ ควรเน้นที่หลักการที่ใหญ่ที่สุดก่อนนั้นก็คือพยายามทำให้พลังงานที่ได้รับไป นั้นน้อยกว่าที่ใช้ (cal in < cal out) แล้วค่อยพิจารณาเรื่องอื่นๆ

ถ้าได้รับพลังงานจากไขมันน้อยกว่า 20% ของพลังงานรวม จะทำให้ส่งผลต่อระดับเทสโทสเตอโรน

ไขมันนั้นสำคัญต่อสมดุลฮอร์โมนมาก จากงานวิจัยศึกษา [1] เปรียบเทียบระหว่าง

 

สารอาหาร (โดยประมาณ) กลุ่ม high fat กลุ่ม low fat
โปรตีน 14% 17%
คาร์บ 45% 67%
ไขมัน 41% 18%

(ตามตารางถ้ารวมสารอาหารทั้งหมดแล้วจะได้ 100% ซึ่งทางทีมผู้เรียบเรียงใส่ข้อมูลตามงานวิจัยต้นฉบับ)

โดยทั้งสองกลุ่มนี้นั้นกินให้ได้พลังงานที่เท่าๆ กัน แต่ต่างกันที่ปริมาณพลังงานที่ได้รับจากสารอาหารต่างๆ

โดยพบว่ากลุ่ม high fat  นั้นมีระดับเทสโทสเตอโรนสูงกว่าถึง 13% ซึ่งผลนี้ก็สอดคล้องกับงานวิจัยอื่นๆ ที่พบว่าเมื่อได้รับไขมันน้อยก็ทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนลดลง [2] ซึ่งเทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งมวลกล้ามเนื้อนั้นก็สำคัญต่อการลดระดับไขมันเช่นกัน

เมื่อเทียบกับแนวทางโภชนาการทีแนะนำต่างๆ อย่าง

CDC: แนะนำที่ 25-35% สำหรับอายุ 4-18 ปี และ 20-35% ของพลังงานรวม (สำหรับอายุ 19 ปีขึ้นไป)

(ลิงค์: http://www.cdc.gov/nutrition/everyone/basics/fat/index.html?s_cid=tw_ob294)

ทำให้โปรแกรม คำนวณอาหารในช่วงลด นน ของ P4F นั้นมักจะต้องกินไขมันเยอะขึ้นเพื่อความเหมาะสมในการรักษามวลกล้ามเนื้อและ สมดุลฮอร์โมนนั่นเอง

อ้างอิง

1.Dorgan JF, Judd JT, Longcope C, Brown C, Schatzkin A, Clevidence BA, Campbell WS, Nair PP, Franz C, Kahle L et al: Effects of dietary fat and fiber on plasma and urine androgens and estrogens in men: a controlled feeding study. The American journal of clinical nutrition 1996, 64(6):850-855.

2.Hamalainen EK, Adlercreutz H, Puska P, Pietinen P: Decrease of serum total and free testosterone during a low-fat high-fibre diet. Journal of steroid biochemistry 1983, 18(3):369-370.

 

 

mhp4

 

คอร์ส Online_banner-2

(Visited 571 times, 1 visits today)

Last modified: May 8, 2019