ก่อนที่เราจะหาเทคนิคและวิธีแก้ไขกล้ามเนื้อมัดที่ด้อยกว่าเส่วนอื่น เรามาดูสาเหตุกันก่อนว่าทำไมกล้ามเนื้อมัดนั้นๆถึงด้อยกว่าส่วนอื่นได้ เพื่อวางแผนการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง
1.กรรมพันธุ์
กรรมพันธุ์นั้นมีบทบาทาสำคัญในการที่จะกำหนดการเติบโต รูปร่าง ลักษณะกล้ามเนื้อ รวมไปถึงความแข็งแรง ความทนทานต่างๆด้วย ดังนั้นเป็นปกติที่กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งจะด้อยกว่ามัดอื่นๆอันสืบเนื่องมาจากโครงสร้าง หรือ รหัสของร่างกายนั้นถูกกำหนดไว้ไม่เด่นเท่าจุดอื่นๆ
2.กล้ามเนื้อมัดนั้นไม่ได้รับการฝึกอย่างเพียงพอ
ในการฝึกทั่วไป มีโอกาสที่การวางโปรแกรมฝึก หรือ การฝึกตามโปรแกรมที่วางไว้นั้นอาจมีช่องโหว่ หรือ จุดอ่อนของโปรแกรมจนทำให้เราฝึกกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งได้ไม่เต็มที่ เช่นการฝึกไทรเซบหลังจากฝึกอกในวันเดียวกัน การฝึกอกที่ใช้ไหล่ ไทรเซบ และ กล้ามเนื้อบริเวณสะบักหรือ rotator cuff นั้นอาจส่งผลให้การฝึกไทรเซบต่อจากอกนั้นทำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากสะบัก ไหล่ หมดแรงเป็นต้น อีกตัวอย่างที่พบได้ชัดเจนคือ การฝึกแฮมสตริงภายหลังจากการฝึกต้นขาด้านหน้า เป็นที่ทราบว่าการฝึกต้นขาด้านหน้านั้นใช้พลังงาน การควบคุมจิตใจและกล้ามเนื้อสูงมาก อีกทั้งต้นขาด้านหน้าที่ล้า ทำให้ฝึกแฮมสตริงนั้นไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่เป็นต้น
3.กล้ามเนื้อมัดนั้นๆได้รับการฝึก “มากเกินไป”
สืบเนื่องมาจากแนวคิดเดียวกันกับด้านบน การฝึกกล้ามเนื้อมัดรองถัดจากกล้ามเนือ้มัดหลัก ที่ใช้กล้ามเนื้อใกล้เคียงกันเช่น การฝึกไทรเซบภายหลังจากการฝึกอกในวันเดียวกันนั้น ทำให้กล้ามเนื้อไทรเซบนั้นถูกฝึก ทั้งขณะที่ฝึกอก และ ฝึกซ้ำภายหลังในการฝึกไทรเซบอีก สำหรับกล้ามเนื้อ “มัดด้อย” นั้นแรงที่น้อยกว่า กับการฟื้นตัวซ่อมแซมที่ช้ากว่านั้น เป็นไปได้ที่จะได้รับการกระตุ้น “มากเกินไป” ในการฝึกนั้นๆทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ฝึกเกิน ซ่อมแซมไม่ทันและ “ไม่พัฒนา”
4.กล้ามเนื้อมัดนั้นๆแข็งแรงมาก และฟื้นตัวเร็วมากๆ
ในกรณีนี้เป็นแนวคิดที่เคียงกับคำว่า “ดื้อการฝึก” ที่สุด เนื่องจากการที่กล้ามเนื้อมัดนั้นๆอาจมีความทนทาน ความแข็งแรงที่ทนต่อการฝึก และ การฟื้นตัวที่ดีมาก จนทำให้การกระตุ้นเพียงครั้งเดียวต่อสัปดาห์นั้นไม่มากพออีกต่อไป มักพบในมัดกล้ามเนื้อที่ทนทานมากๆเช่น น่อง ฟอร์อาร์ม กล้ามท้อง บ่า ไหล่ หรือ ต้นขาเป็นต้น