เพราะท่าดึงข้อ(Chin-up) เป็นการฝึกออกแรงแบบยกขึ้น หรือ Concentric ดังนั้นการฝึกจึงเน้นไปที่จังหวะดึงขึ้น ส่วนสาเหตุที่ทำให้ดึงไม่ขึ้นเพราะน้ำหนักตัวมากกว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ดังนั้นการใช้เทคนิค “ตัดทอน” น้ำหนักจึงถูกเลือกใช้เพื่อให้สามาถพัฒนาความแข็งแรงในรูปแบบเดียวกับการดึงข้อ(Chin-up) ได้
Step 1
ลองจับคว่ำมือ(underhand-grip)เพราะใช้กล้ามเนื้อใบเซบเข้ามาช่วยได้มากขึ้นทำให้เราสามารถดึงข้อ(Chin-up) ได้ง่ายขึ้น
– โดยทำท่าคุกเข่าแล้วสามารถโหนบาร์ได้สุดแขนพอดี
– ดึงตัวเองขึ้นแล้วให้อกชิดบาร์ โดยออกแรงจากกล้ามเนื้อปีกให้มากที่สุด (อาจใช้หลังเท้าช่วยออกแรง)
Step 2
ดึงข้อ(Chin-up) ด้วยท่าเดิม แต่ให้ไขว้ขา จากนั้นออกแรงถึงตัวเองขึ้น
Step 3
ดึงข้อ(Chin-up) ด้วยท่าเดิม แต่ให้ยกเท้าข้างใดข้างหนึ่งขึ้น จากนั้นออกแรงถึงตัวเองขึ้น
Step 4
ใช้เบาะรองปลายเท้าทั้งสองข้าง โดยให้เข่าอยู่ต่ำกว่าปลายเท้าจากนั้นออกแรงถึงตัวเองขึ้น
Step 5
ฝึกดึงข้อ(Chin-up)จริง โดยที่ไม่ต้องใช้เบาะรองหรือคุกเข่า แล้วดึงตัวเองขึ้น ฝึกซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าอย่างเต็มที่โดยไม่คำนึงว่าจะทำได้ครบตามเคลื่อนไหวหรือไม่ เน้นการทำซ้ำจนหมดแรงจริงๆ (Partial reps)
และการนับจำนวนครั้งที่ฝึกสะสม เช่นกำหนดว่าจะฝึก 20 ครั้ง โดยไม่คำนึงว่าจะต้องฝึกกี่เซ็ต โดยที่พยายามฝึกให้ครบโดยใช้จำนวนเซ็ตน้อยที่สุด (Reps counted)
ทิ้งท้าย
การดึงข้อ(Chin-up) ใช้ทักษะด้านอื่นๆในการฝึกด้วย เช่น การทรงตัว การวางตำแหน่งตัว เราจะพบได้ว่าในบางกรณีผู้ที่สามารถฝึกท่า Lat Pulldown ได้หนักกว่าน้ำหนักตัวของตัวเอง แต่ไม่สามารถทำท่าดึงข้อ(Chin-up) ได้ ดังนั้นการฝึกให้ร่างกายต้องใช้มัดกล้ามเนื้อที่ใช้ในการฝึกดึงข้อ(Chin-up) จริงๆนั้นจะสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้ฝึกสามารถดึงข้อ(Chin-up) ได้ในที่สุด