5 ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ BCAAs

Supplement, Tips and Technique

1. BCAAs คืออะไร

ย่อมาจาก branched chain amino acidsซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิดได้แก่ leucine, isoleucine และ valine ซึ่งกรดอะมิโน 3 ชนิดนี้มีความพิเศษกว่ากรดอะมิโนตัวอื่นๆ เล็กน้อย

2. BCAAs กับการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน

มีการศึกษาพบว่าปริมาณของลิวซีนนั้นมีผลต่อการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนผ่านทาง mTOR จากตรงนี้ทำให้หลายคนคิดว่าร่างกายใช้การวัดระดับลิวซีนว่าร่างกายมีกรดอะมิโนมากหรือน้อย ถ้าปริมาณลิวซีนมากก็จะทำให้เกิดการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนเพื่อนำกรดอะมิโนเหล่านั้นมาใช้เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ถ้าปริมาณลิวซีนน้อยก็แสดงว่าร่างกายมีกรดอะมิโนน้อยและไม่กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนและอาจสลายโปรตีนกล้ามเนื้อมาเพื่อเพิ่มระดับ BCAAs ในเลือดแทน ทำให้มีการนำ BCAAs มาใช้ในการเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนและป้องกันการสลายกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงาน

3.BCAAsกับการป้องกันการสลายโปรตีนมาใช้เป็นพลังงาน

ทางทฤษฏีพบว่าร่างกายมีการสลายโปรตีนมาใช้เป็นพลังงานในช่วงที่พลังงานไม่เพียงพอ จึงได้ไอเดียที่จะนำ BCAAs มาใช้ในช่วงไดเอทลดไขมันโดยเพิ่มระดับ BCAAs ในเลือดให้มากขึ้นเพื่อลดระดับการสลายโปรตีนมาใช้ลง ซึ่งก็ได้รับการพิสูจน์แล้วจากงานวิจัย เพียงแต่อาจจะไม่ได้ช่วยได้มากนัก (แต่สำหรับคนที่ซีเรียสอาจจะสนใจแม้ว่าการที่ช่วยลดได้จะเล็กน้อยก็ตาม)

4.การเสริมBCAAs

ถึงแม้ว่า leucine ดูเหมือนจะเป็นหัวใจหลัก แต่ส่วนมากมักจะนิยมเสริมในรูปครบทั้งสามตัวอย่าง BCAAs แทนเพื่อรักษาระดับของกรดอะมิโนทั้งสามตัวแต่จะเน้นไปที่ให้ปริมาณลิวซีนมากกว่าตัวอื่นเช่นให้ลิวซีนมามากกว่าตัวอื่น 2,4 หรือ 8 เท่า ซึ่งยังไม่มีการทดลองว่าที่อัตราส่วนเท่าไรจะดีที่สุด

ถึงแม้ว่า leucine จะกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนจริง แต่ก็เป็นแค่การกระตุ้น เพราะการสังเคราะห์โปรตีนต้องใช้กรดอะมิโนตัวอื่นๆ มาสังเคราะห์เป็นโปรตีน ดังนั้นการเสริมแต่ BCAAs โดยที่ทานโปรตีนไม่เพียงพอก็ไม่อาจจะทำให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ดังนั้นหากต้องการผลในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อควรเสริม BCAAs คู่กับโปรตีนสูงอย่างอาหารหลักหรือโปรตีนเสริมต่างๆ

5.รูปแบบBCAAsและการดูดซึม

BCAAs ที่วางขายนั้นมีทั้งแบบธรรมดาๆ และแบบปรับ pH (โดยโฆษณาว่าจะทำให้ดูดซึมดีขึ้น) แต่รูปแบบธรรมดาๆ ก็น่าจะเพียงพอแล้วเนื่องจากอยู่ในรูปที่ร่างกายดูดซึมได้ทันที

 

อ้างอิง

1.Louard RJ, Barrett EJ, Gelfand RA. Effect of infused branched-chain amino acids on muscle and whole-body amino acid metabolism in man. Clinical science (London, England : 1979). 1990 Nov;79(5):457-466.

2.Alvestrand A, Hagenfeldt L, Merli M, Oureshi A, Eriksson LS. Influence of leucine infusion on intracellular amino acids in humans. European journal of clinical investigation. 1990 Jun;20(3):293-298.

3.Nair KS, Schwartz RG, Welle S. Leucine as a regulator of whole body and skeletal muscle protein metabolism in humans. The American journal of physiology. 1992 Nov;263(5 Pt 1).

(Visited 1,832 times, 1 visits today)

Last modified: May 8, 2019