5 พฤติกรรม ทำลายกล้าม

05_harm_p

1.อดนอน

การนอนนั้นมีความสำคัญต่อการซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นเราควรจะนอนพักผ่อนให้เพียงพอ

 

2.ดื่มเหล้า/เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

จากบทความเดิม (https://wordpress.planforfit.com/index.php/ArticleContent/Detail/470) พบว่าการดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์นั้นจะทำให้ระดับการสังเคราะห์โปรตีนลดลงและเพิ่มการสลายโปรตีนมากขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่านี่เป็นพฤติกรรมนึงที่มีส่วนในการทำลายกล้ามเนื้อและทำให้การพัฒนาช้าลง

 

3.คาร์ดิโอมากเกินไป

การเสริมสร้างกล้ามเนื้อนั้น ร่างกายต้องได้รับพลังงานมากพอ ซึ่งการที่จะทานอาหารให้ได้พลังงานมากพอนั้นจะทำให้เกิดการสะสมไขมันเพิ่มไปด้วยอย่างช่วยไม่ได้ ทำให้เมื่อเราเพิ่มกล้ามเนื้อแล้ว (bulking) เราจะต้องมีช่วงไดเอทเพื่อลดไขมันส่วนเกินที่ว่านี้ออกไปอีกที (lean, cutting) ซึ่งก็เป็นแนวทางปกติ

 

แต่บางคนคิดว่าตอน bulking นั้นจะคาร์ดิโอเยอะๆ ควบคู่ไปเลยเพื่อลดไขมันไปในตัว ซึ่งดูแล้วเป็นแนวทางที่ดี แต่จริงๆ แล้วเป็นแนวทางที่สวนทางกับการ bulking หรือการเสริมสร้างกล้ามเนื้อเพราะว่าการคาร์ดิโอนั้นเป็นการเพิ่มการใช้พลังงานให้มากขึ้นซึ่งอาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานไม่มากพอที่จะเสริมสร้างกล้ามเนื้อ (เพราะต้องเอามาใช้เป็นพลังงานตอนคาร์ดิโอ) และถ้าทำคาร์ดิโอมากจนพลังงานที่ร่างกายใช้นั้นมากกว่าพลังงานที่ได้รับนั่นก็กลายเป็นว่าร่างกายก็จะดึงพลังงานที่สะสมมาใช้ ซึ่งพลังงานดังกล่าวนั้นนอกจากจะเป็นไขมันที่สะสมแล้วก็อาจจะเป็นกล้ามเนื้อด้วยก็ได้

 

4.กินน้อยเกินไป

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการเสริมสร้างกล้ามเนื้อนั้น ร่างกายต้องได้รับพลังงานมากพอ ดังนั้นการที่กินน้อยเกินไปจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานไม่มากพอที่จะเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และที่แย่กว่านั้นคือร่างกายต้องนำพลังงานที่สะสมไว้ในรูปไขมันและกล้ามเนื้อเอามาใช้เพื่อชดเชยส่วนต่างของพลังงงาน

 

5.เล่นเวทเยอะเกินไป

การเสริมสร้างกล้ามเนื้อก็ต้องกระตุ้นด้วยเวทเทรนนิ่ง แต่การเล่นเวทมากเกินไปก็ไม่ได้หมายความว่ากล้ามเนื้อมากขึ้นไปด้วย การเล่นเวทมากเกินไป หนักเกินไปนั้นจะนำไปสู่ภาวะ overtraining ซึ่งเป็นผลเสียต่อโปรแกรมฝึกและพัฒนาการกล้ามเนื้อ สามารถอ่านรายละเอียดเต็มๆ ได้จากบทความเก่าๆ  ครับ (https://wordpress.planforfit.com/index.php/ArticleContent/Detail/191)

 

60sk_arti1 copy

pt_banner copy

(Visited 3,743 times, 1 visits today)

Last modified: May 9, 2019