ถ้าพูดถึงเรืองการยกเวทเพื่อสร้างกล้ามเนื้อปัจจุบันคำว่า TUT (time under tension) นั้นก็คงเป็นที่ผ่านหูและกล่าวถึงมาพอสมควรเนื่องจากแนวความคิดที่ว่าถ้ายิ่งมี Time under tension (เวลาที่กล้ามเนื้อมีความตึงตัว) มากก็จะทำให้มีกรดแลคติคมาก ซึ่งตรงนี้จะช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อเพราะบางทฤษฏีกล่าวไว้ว่าการที่ยิ่งมีกรดแลคติคที่เพิ่มขึ้น นั้นเป็นตัวกระตุ้นฮอร์โมนและการสร้างกล้ามเนื้อให้มากขึ้นนั่นเอง
มีการทำลองที่น่าสนใจเปรียบเทียบการฝึก Leg extension ด้วยวิธีต่างๆ 4 วิธี
วิธีที่ 1: ฝึกแบบปกติที่ 10RM
วิธีที่ 2: Slow motion ยกขึ้น 30วิ ต้านลง 30วิ
วิธีที่ 3: Functional isometric ยกปกติ แล้วเกร็งค้างจังหวะสุดท้าย 5วินาทีทุกๆครั้งที่ยก
วิธีที่ 4: Adapted vascular occlusion (VO): เกร็งค้าง 20วิที่จังหวะสุดท้ายในครั้งแรก และตามด้วยการฝึกปกติ
เพื่อวัด กรดแลคติค และ TUT ระยะเวลาที่กล้ามเนื้อมีความตึงตัว
ผลการทดลองพบว่า
จำนวนครั้งที่ยกได้
แบบแรกที่ยกแบบปกตินั้นได้จำนวนครั้งมากที่สุด รองลงมาคือ แบบ Functional isometric (เกร็งค้าง5วิ) ตามด้วยแบบ VO (เกร็งค้าง20วิแรก) ส่วนการยกแบบ slow-mo นั้นสามารถยกได้จำนวนเรปน้อยที่สุด
ระยะเวลาที่กล้ามเนื้อตึงตัว Time under tension
Slow-mo นานที่สุด น้อยที่สุดคือวิธีการยกแบบปกติ
จำนวนกรดแลคติคที่สร้างหลังจากการบริหาร
พบว่าการยกแบบ Functional isometric (เกร็งค้าง5วิ) นั้นมีระดับการสร้างกรดแลคติคมากที่สุด
พบว่าการยก 10RM แบบปกตินั้นสร้างกรดแลคติคได้มากกว่าแบบ slow-mo อีก!!!
แบบ Slow mo กลับน้อยที่สุด (แม้ว่าจะมี time under tension สูงที่สุดก็ตาม!!!)
ดังนั้นแนวคิดที่ว่าจะฝึกแบบช้าๆ slow motion เพื่อหวังว่าเอากรดแลคติคที่มากขึ้นแล้วมากระตุ้นกล้ามเนื้อเป็นแนวทางที่สามารถฝึกได้ แต่จริงๆ แล้วการฝึกแบบ slow mo นั้นก็ไม่ได้ทำให้เกิดกรดแลคติคมากกว่าการฝึกแบบอื่นๆ โดยพบว่าการฝึกแบบนี้จะมีค่าเฉลี่ยการสร้างกรดแลคติดที่น้อยกว่าการฝึกแบบปกติเสียด้วยซ้ำ หากต้องการกระตุ้นกล้ามเนื้อผ่านกลไกของกรดแลคติคน่าจะมองไปที่การฝึกแบบ Funcional isometric หรือยกปกติแล้วเกร็งค้าง 5วิทุกๆครั้ง น่าจะเป็นแนวทางที่ดูได้ผลในด้านนี้มากกว่า
สรุป
- การสร้างกรดแลคติคที่ใกล้เคียงกันนั้นอาจเป็นไปได้ว่าเพราะเนื่องจากโหลด นน ของแต่ละวิธีนั้นเท่ากัน
- เทคนิค Functional isometric สามารถสร้างกรดแลคติคได้ค่าเฉลี่ยสูงกว่า ดังนั้นสิ่งที่ทำให้เทคนิคนี้สร้างกล้ามได้ดีน่าจะมาจากการกระตุ้นกล้ามเนื้อผ่านกรดแลคติค
- เทคนิค Slow mo มี time under tension มากสุด การฝึกแบบนี้ก็น่าจะได้ผลดีเพราะจาก TUT มากกว่า ไม่ได้มาจากการสร้างกรดแลคติคที่มากกว่าแบบที่เข้าใจกัน
- การกระตุ้นกล้ามเนื้อมีหลายทาง ทุกเทคนิคมีข้อดี ข้อเสีย ควรสลับและปรับไปประยุกต์ใช้
อ้างอิง
Time under Tension and Blood Lactate Response during Four Different Resistance Training Methods
Paulo Gentil1), Elke Oliveira1) and Martim Bottaro2)