กินแล้วนอน vs กินแล้วนั่ง ได้โปรตีนแตกต่างกัน

Nutrition, Tips and Technique

ตามความเข้าใจแล้ว ไม่ว่าจะนั่ง หรือ นอน นั้นก็น่าจะเกิดการย่อยและดูดซึมสารอาหารได้เหมือน ๆ กัน แต่ข้อมูลจากการศึกษานี้อาจทำให้ต้องเปลี่ยนใจ

การทดลองครั้งนี้ได้ให้อาสาสมัครรับอาหารที่ได้

• โปรตีน 22 g

• คาร์บ 29g

แล้วทำการตรวจวัดเลือดหลังจาก 4 ชม. ที่ได้รับอาหารดังกล่าว

 

เมื่อกินแล้วนั่งจะมีระดับกรดอะมิโนในเลือดสูงกว่าคนที่กินแล้วนอน

กราฟข้างล่างเป็นผลการทดลองดังกล่าว โดยจุดทึบสีดำคือกลุ่มที่กินแล้วอยู่ในท่าลำตัวตั้ง (เช่น ยืน, นั่ง) ซึ่งพบว่าระดับกรดอะมิโนจำเป็นนั้นสูงกว่ากลุ่มที่กินแล้วนอน (จุดขาว)

โดยเฉพาะระดับกรดอะมิโนลิวซีน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่สำคัญที่พบว่าถ้าระดับกรดอะมิโนตัวนี้สูงจะทำให้เกิดการกระตุ้นการสังเคราะห์กล้ามเนื้อในร่างกายได้ โดยพบว่าผลก็เป็นไปในทางเดียวกัน การกินแล้วนอนจะมีการดูดซึมสารอาหารน้อยกว่าการกินแล้วนั่งเพราะเห็นได้ว่าระดับกรดอะมิโนนั้นน้อยกว่านั่นเอง

การนำข้อมูลไปใช้

  1. พยายามไม่อยู่ในท่านอนหลังกินอาหารเข้าไป เพราะถ้ายึดข้อมูลการทดลองครั้งนี้จะพบว่าการนอนหลังกินข้าวจะทำให้ดูดซึมอาหารได้น้อยกว่าที่กินจริง
  2. กรณีที่กินมื้อสุดท้ายก่อนนอนหลับพอดีนั้น ถ้าสามารถเว้นระยะเวลาให้กินก่อนนอนได้ซัก 2-3 ชม ก็น่าจะทำให้ได้รับสารอาหารดีกว่า
  3. กรณีที่กินมื้อสุดท้ายแล้วต้องนอนเลยนั้น หากปรับเปลี่ยนเวลาไม่ได้จริง ๆ ก็กินเหมือนเดิมได้ เพราะการกินให้ครบย่อมดีกว่าไม่กินเลย

 

อ้างอิง

Holwerda AM, Lenaerts K, Bierau J, van Loon LJ. Body Position Modulates Gastric Emptying and Affects the Post-Prandial Rise in Plasma Amino Acid Concentrations Following Protein Ingestion in Humans. Nutrients. 2016;8(4):221.

(Visited 2,066 times, 1 visits today)

Last modified: May 10, 2019