อาหารเสริมอะไรที่ช่วยให้ฟื้นตัวไวและลดการปวดเมื่อย

146_sup_p

หลายคนนิยมหาอาหารเสริมเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น นัยว่าการฟื้นตัวที่เร็วขึ้นนั้นช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น

อาหารเสริมจำพวกนี้ได้แก่

BCAAs ที่มีการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีน

Creatine

Beta-alanine ปรับสมดุลภาวะความเป็นกรดด่างในร่างกาย ลดระดับกรดแลคติกที่เกิด

Caffeine ทำให้ร่างกายตื่นตัว โฟกัสได้มากขึ้น

L-arginine ที่มีการเคลมว่าเพิ่มการไหลเวียนของเลือด

 

มีการทดลองเพื่อศึกษาในภาพรวมว่าอาหารเสริมพวกนี้ สามารถช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว, ลดอาการปวดล้าจากการเวทเทรนนิ่งได้หรือไม่ ทางผู้วิจัยเลยให้อาสาสมัครทานอาหารเสริมดังกล่าว โดยให้อาสาสม้ครเริ่มเสริมอาหารเสริมก่อนการเวทและหลังเล่นเวท

โดยกลุ่มควบคุม (CON) ทาน maltodextrin 21 g โดยปรับแต่งให้มีรสคล้ายอาหารเสริมสำที่กลุ่มทดลองได้รับ

กลุ่มทดลอง (MIPS) ได้อาหารเสริม (เป็นอาหารเสริมยี่ห้อนึง)

  • เวย์โปรตีน 18 g
  • BCAAs 8 g
  • Creatine
  • Beta alanine
  • สารอื่นๆ

ความปวด

ทางผู้วิจัยได้ใช้อุปกรณ์ Algometer ในการใช้ประเมินความปวดของกล้ามเนื้อ พบว่าความปวดของกล้ามเนื้อในกลุ่มที่เสริมอาหารเสริมดังกล่าวนั้นไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม

ค่าผลเลือดที่บ่งบอกถึงความเสียหายของกล้ามเนื้อ

 

ทางผู้วิจัยทำการวัด CK และ LDH ที่บ่งบอกถึงความเสียหายของกล้ามเนื้อ

พบว่าทั้งสองกลุ่มนั้นมีระดับ CK ไม่แตกต่างกันในเชิงสถิติ

Untitled

เมื่อดูต่อไปยังค่า LDH ก็พบว่าทั้งสองกลุ่มนี้ได้ผลไม่แตกต่างกัน

Untitled

ทางผู้วิจัยจึงสรุปว่าอาหารเสริมดังกล่าวนั้นไม่มีผลต่อการเร่งการฟื้นตัว, ลดอาการปวดเมื่อย อย่างที่กล่าวอ้างกัน

การทดลองนี้ได้ทำการเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับ maltodextrin ซึ่งอาสาสมัครไม่ทราบว่าตัวเองจะได้รับสารอาหารอะไรระหว่างได้รับอาหารเสริมจริงๆ หรือได้รับแป้งธรรมดาๆ เพื่อเป็นการตัด placebo effect

Placebo effect: คือภาวะที่เมื่อได้รับการปฏิบัติ (ยาหรืออาหารเสริม) เพิ่มเข้าไปแล้วรู้สึกว่ายานั้นมีผล ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเพียงความรู้สึกว่าได้ผล

อ้างอิง

Ormsbee MJ, Ward EG, Bach CW, Arciero PJ, McKune AJ, Panton LB. The impact of a pre-loaded multi-ingredient performance supplement on muscle soreness and performance following downhill running. J Int Soc Sports Nutr. 2015;12(1):2.

 

(Visited 889 times, 1 visits today)

Last modified: May 8, 2019