น้ำอัดลม 0% กินแล้วอ้วนรึเปล่า?

ยังไงดี ? กับน้ำตาลเทียมในอาหารต่าง ๆ
จากสองฟากฝั่งทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของคนไทยและนักวิชาการทางสุขภาพหลาย ๆ คนรวมทั้งกลุ่มคนออกกำลังกาย
ในประเด็นการถกเถียงเรื่องว่าด้วย “ผลของสารให้ความหวานแทนน้ำตาลกับน้ำหนักตัวหรือภาวะอ้วน”​
เรามารีวิวกันหน่อยว่า สรุปสุดท้ายเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกันแน่ ?

น้ำตาลเทียม ทำไมถึงพบว่ายิ่งกินยิ่งอ้วน
จากบทความที่อ้างถึงผลของการใช้น้ำตาลเทียมว่า “ทำให้น้ำหนักตัวของกินคนเพิ่มขึ้นได้” นั้นเป็นการอ้างอิงจากงานวิจัยบางชิ้น
ที่มีลักษณะของการศึกษาเป็น Observational study หรือเชิงสังเกต คือการขอเก็บข้อมูลและติดตามกลุ่มตัวอย่างไป โดยไม่รบกวนกลุ่มตัวอย่างเลย
จะไปทำอะไร กินอะไรก็เชิญตามสบายกลุ่มตัวอย่าง และเมื่อถึงเวลาคือมาเก็บข้อมูลพบว่า มีตัวแปรหรือปัจจัยที่สนใจเปลี่ยนแปลงหรือไม่เท่านั้น
ซึ่งประเด็นข้อมูลที่ว่า ในผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมสูตรใช้น้ำตาลเทียมหรือ Diet soda นี้ พบว่ามีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป จึงเกิดข้อสรุปจากการสังเกตว่า
ทำไมการบริโภคน้ำอัดลมประเภทนี้ทดแทนการดื่มน้ำอัดลมปกติที่มีน้ำตาลถึงไม่ช่วยให้ลดน้ำหนักลงได้ และเกิดการสรุปว่า
“การดื่มน้ำอัดลมสูตร Diet นี้สัมพันธ์กับการเพิ่มของน้ำหนักตัวนะ เมื่อเวลาผ่านไป”
งานเลยงอกเลยทีนี้เพราะงานวิจัยดันสรุปออกมาได้ผลดังกล่าวเราจะโต้แย้งหรือเคลียข้อสงสัยได้อย่างไรบ้าง…

อย่าลืมว่าวิทยาศาสตร์คือเรื่องของการคิดค้นและศึกษา
สิ่งใดที่ยังไม่มีหลักฐานในตอนนี้ก็ไม่ได้แปลว่ามันไม่มีอยู่จริง มีความสัมพันธ์กัน ไม่ได้หมายถึง เป็นสาเหตุของกันและกัน (Association does not mean causation)
จากงานวิจัยเชิงสังเกต แม้จะพบความสัมพันธ์ของ “ปริมาณการดื่มน้ำอัดลมที่ใช้น้ำตาลเทียม (Diet soda)กับขนาดของรอบเอวที่เพิ่มขึ้น”
จาก School of Medicine at The University of Texas Health Science Center San Antonio รายงานจากการติดตามวัยผู้ใหญ่ช่วงอายุ 30 ขึ้นไปเป็นเวลา 9 ปีกว่าพบว่า
รอบเอวของคนที่ดื่ม Diet soda ประมาณสองกระป๋องหรือมากกว่าต่อวันนั้น เพิ่มขึ้นคิดเป็น 70% จากวันแรกทั้งนี้ให้ลองคิดต่อว่า ในแต่ละวันเราไม่ได้ดื่มแต่น้ำอัดลม diet เพียงอย่างเดียว

ยังไงดี ? กับน้ำตาลเทียมในอาหารต่าง ๆ
เราก็มีกิจวัตรประจำวัน และอาหารอื่น ๆ อีกอย่างแน่นอน ฉะนั้นจึงไม่สามารถสรุปได้ว่า Diet soda ทำให้คนอ้วนมากขึ้นได้ แต่สรุปได้เพียงว่า
คนที่มีพฤติกรรมการดื่ม Diet soda วันละสองครั้งขึ้นไปสัมพันธ์กับการมีรอบเอวที่เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ได้ดื่ม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะตัวเลือกอาหาร
ที่คนทั้งสองกลุ่มนั้นก็น่าจะแตกต่างกันอยู่แล้ว คนไม่ชอบน้ำอัดลมก็อาจมีแนวโน้มที่จะดูแลตัวเองมากกว่า และเลือกอาหารพิถีพิถันกว่า ในขณะที่คนเลือกน้ำอัดลม (แม้จะสูตรไดเอตก็ตาม)
มีแนวโน้มที่จะอาจกินตามใจหรือเลือกอาหารที่กินง่าย สะดวกมากกว่า
จากงานวิจัยพบว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มไขมันหรือน้ำหนักโดยตรงแต่อาจอ้อม ๆ ได้ จากการศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรียในลำไส้หรือ Gut microbiota ของสัตว์ทดลอง
ซึ่งพบว่าสิ่งมีชีวิตเล็กๆเหล่านี้มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับสุขภาพของมนุษย์หลายประเด็นเลยทีเดียว ไม่เว้นแต่แม้แต่สภาพความอ้วนและการสะสมของไขมัน ใ
นเวลานี้เรามีข้อมูลเพียงว่า การบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนั้นมีผลกระทบต่อสมดุลและความเป็นไปของแบคทีเรียในลำไส้เหล่านี้ ในเชิงของเสียสมดุลไปและอาจทำให้
อ้วนได้ง่ายขึ้น กระนั้นก็ยังไม่สามารถสรุปแบบนี้ให้สนิทใจได้ เอาเป็นว่ามีหลักฐานที่พยายามอธิบายอยู่บ้าง แต่ก็ไม่กระจ่างจนเชื่อได้ทีเดียวก็พอ

น้ำหนักจะเพิ่มหรือไม่เพิ่ม หลัก ๆ อยู่ที่สมดุลพลังงานเข้า ออกอยู่ดี
อันที่จริงสิ่งที่มีบทบาทแน่นอนร้อยเปอเซนต์คือ พลังงานที่ร่างกายได้รับจากอาหารต่าง ๆ เข้าไป หากมีมากกว่าพลังงานที่ใช้ออกจากการออกกำลังกายหรือการมีกิจกรรมต่าง ๆ
ในแต่ละวันน้ำหนักเราย่อมเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน และพฤติกรรมการบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลหลัก ๆ แล้วจะพบในสองกลุ่มคือ คนที่ต้องการลดน้ำหนัก
(ซึ่งมักมีน้ำหนักเกินหรืออ้วนจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตก่อนหน้า) และกลุ่มที่รักษาสุขภาพ อาจถึงขั้นนับพลังงานจากอาหารหรือไม่ก็แล้วแต่ ซึ่งแวดล้อมก็ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้วว่า
พฤติกรรมการบริโภคน้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลนับเป็นปัจจัยที่เล็กและน้อยมาก เมื่อเทียบกับอาหารอื่น ๆ

ยังไงดี ? กับน้ำตาลเทียมในอาหารต่าง ๆ ที่กินในแต่ละวันแล้ว เราน่าจะต้องเป็นห่วงอาหารมากกว่าเครื่องดื่มเหล่านี้ด้วยซ้ำ ทีนี้ ถ้าให้สรุปใจความสำคัญ เราจะได้ออกเป็นประเด็นดังนี้
– น้ำอัดลมสูตร Diet
ยังไม่มีหลักฐานเชิงเป็นเหตุเป็นผลต่อการเพิ่มของน้ำหนักตัว และหากวิเคราะห์ตามกลไกเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วก็ยังไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวกับการสะสมของไขมันในร่างกาย
– น้ำอัดลมสูตร Diet อาจกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากรสหวานได้
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะกระตุ้นแล้วต้องวิ่งไปหาของหวาน ขนมหวานมากินให้เกิดพลังงานส่วนเกินจริงหรือครับ ?
– ถ้าให้แนะนำปริมาณที่สามารถดื่มได้ต่อวัน ก็ไม่สามารถสรุปได้
เพราะหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และข้อมูลยังไม่เพียงพอจึงสามารถแนะนำได้เป็นกลางๆ เท่านั้นว่าอย่างมากในหนึ่งวันก็ดื่มไม่เกิน 2 กระป๋องหรือ 1 ขวดไม่เกิน 20 บาทก็น่าจะพอแล้ว
ไม่ควรมากกว่านี้และควรมีวันที่ไม่ดื่มบ้าง ยังไงการดื่มน้ำเปล่าก็ชัดเจนกว่าว่าไม่มีข้อเสียต่อสุขภาพ จริงไหมครับ?

(Visited 2,537 times, 1 visits today)

Last modified: June 27, 2019