ลู่วิ่ง VS จักรยาน แบบไหนเบิร์นไขมันได้ดีกว่ากัน

Cardio, Weight Training

1

 

ตัวเลือกสำหรับ การทำคาร์ดิโอเพื่อลดไขมันนั้นก็มีหลายอย่าง ซึ่งทุกอันก็ไม่ได้ส่งผลเหมือนกันเป๊ะๆ 100% การจะใช้เครื่องไหนก็ต้องปรับให้เหมาะสม

การทดลองทำการ เปรียบเทียบว่าการปั่นจักรยานกับการเดินบนลู่วิ่งนั้นระดับ fat oxidation หรือก็คือการนำไขมันมาใช้เพื่อเป็นพลังงานแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

โดยคุมให้ทั้ง สองวิธีนี้ทางผู้วิจัยได้พยายามปรับระดับความหนักของการออกกำลังกายทั้งสอง วิธีให้มีอัตราการเต้นของหัวใจใกล้เคียงกัน  [1]

 

ปั่นจักรยาน เดินบนลู่วิ่ง (treadmill)
อัตราการเต้นช่วงต้นการทดลอง 108 ± 3 105 ± 3
อัตราการเต้นช่วงท้ายการทดลอง 172 ± 3 174 ± 5

 

ผลการทดลองเป็นไปตามรูปข้างล่าง

1

 

สังเกตว่าที่ ระดับ fat oxidation (แกน y) ของกลุ่มที่เดินบนลู่วิ่ง (กราฟแท่งสีดำ) นั้นมีระดับที่สูงกว่ากลุ่มที่ปั่นจักรยาน (กราฟแท่งสีขาว) โดยทางผู้วิจัยสรุปว่ากลุ่มที่เดินบนลู่วิ่งมีระดับ fat oxidation สูงกว่าถึง 28%

 

สาเหตุที่เป็นไป ได้ก็อาจจะเนื่องจากการเดินบนลู่วิ่งนั้นใช้กล้ามเนื้อหลายส่วน ทั้งขาส่วนที่เดินและรับน้ำหนัก, กล้ามเนื้อในส่วนแกนกลางที่ประคองร่างกาย, กล้ามเนื้อขณะที่แกว่งแขน

 

ข้อดีของลู่วิ่ง: มีระดับ fat oxidation (การใช้ไขมัน) มากกว่า

 

ข้อดีของปั่นจักรยาน: ทำได้ง่าย, อาจจะออกกำลังกายได้นานกว่าลู่วิ่งซึ่งตรงนี้จะชดเชยข้อเสียไปได้

 

ดังนั้นถ้า ปัจจัยว่าเรามีเวลาจำกัดที่คงที่แล้วต้องการให้มีประสิทธิภาพมาก เช่น มีเวลา 20 นาที นั้น การเดินบนลู่วิ่งนั้นมีระดับการใช้ไขมันมาเป็นพลังงานสูงกว่า

แต่ถ้าเรามีเวลามากพอการเลือกปั่นจักรยานแล้วเพิ่มเวลาให้มากขึ้นก็ชดเชยได้

ส่วนเครื่องออกกำลังกายอื่นๆ อาจจะใช้หลักการเดียวกันได้ เช่นพวกที่มีการเคลื่อนไหวเยอะๆ เช่นเดินขึ้นบันได ก็น่าจะได้ผลเช่นเดียวกัน

 

อ้างอิง

1.      Achten J, Venables MC, Jeukendrup AE: Fat oxidation rates are higher during running compared with cycling over a wide range of intensities. Metabolism: clinical and experimental 2003, 52(6):747-752.

 

 

 

(Visited 7,620 times, 1 visits today)

Last modified: May 8, 2019