L-carnitine ควรกินหรือไม่ ?

L-carnitineในแง่ของอาหารเสริมลดไขมัน

เหตุผลที่L-carnitine ถูกนำมาใช้ในแง่ของอาหาเสริมลดไขมันเนื่องจากแนวคิดที่ว่าการเสริมL-carnitine จะเป็นการเพิ่มระดับL-carnitine ในร่างกายและส่งผลให้มีการใช้ไขมันมากขึ้นและทำให้ไขมันสะสมในร่างกายลดลง

แต่งานวิจัยพบว่าถึงแม้จะได้รับการเสริมL-carnitine มากถึง6g ต่อวันระดับL-carnitine ที่พบในกล้ามเนื้อซึ่งเป็นแหล่งสะสมL-carnitine ในร่างกายนั้นก็ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

L-carnitineกับการออกกำลังกาย:ผลที่ได้จากการวิจัย

ผลงานวิจัยที่ได้นั้นมีความหลากหลายทั้งนี้จะพูดถึงทั้งงานวิจัยที่พิสูจน์ว่าL-carnitine ได้ผลดีและงานวิจัยที่พบว่าL-carnitine ไม่มีผลต่อการออกกำลังกาย

งานวิจัยที่พบว่าL-carnitine ส่งผลต่อการออกกำลังกาย

1g ต่อวันเป็นเวลา3 สัปดาห์: เพิ่มสมรรถภาพในการออกกำลังกาย, ลดการสะสมของกรดแลคติก
2g ก่อนออกกำลังกายแบบhigh intenitsy: ลดรการสะสมของกรดแลคติก
2g ต่อวันเป็นเวลา28 วัน: มีอัตราการเผาผลาญไขมันสูงขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

งานวิจัยที่พบว่าL-carnitine ไม่มีผลต่อการออกกำลังกาย

2g ต่อวัน: สมรรถภายในการออกกำลังกายไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม
4g ต่อวัน: ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับL-carnitine ในร่างกาย
6g ต่อวัน: ไม่พบว่ามีระดับL-carnitine สูงขึ้นในร่างกายอีกทั้งไม่ส่งผลต่อการลดไขมัน

เนื่องจากงานวิจัยนั้นมีการออกแบบการทดลองที่แตกต่างกัน, อาสาสมัครแตกต่างกัน, การควบคุมการทดลองที่อาจจะมีความเข้มงวดแตกต่างกันทำให้พบว่ามีทั้งงานวิจัยที่ยืนยันผลดีของL-carnitine และงานที่ค้านกันแต่อย่างไรก็ตามการที่ผลยังไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งหมดทำให้ยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวอ้างได้ว่าการเสริมL-carnitine นั้นมีความสำคัญต่อการออกกำลังกายและลดไขมัน

สรุป 

1. L-carnitine สามารถถูกสังเคราะห์ได้เองภายในร่างกายโดยสังเคราะห์จากกรดอะมิโนไลซีนและเมธไทโอนีนและพบว่าในคนที่งดเว้นอาหารที่เป็นแหล่งสำคัญของL-carnitine ก็ยังสามารถสังเคราะห์ให้มีระดับL-carnitine ที่เพียงพอต่อการใช้งานในร่างกายซึ่งหมายความว่าร่างกายของคนปกติสามารถสังเคราะห์ได้พอเพียงโดยไม่จำเป็นที่ต้องได้รับเพิ่มจากอาหารเสริม

2. แหล่งสะสมหลักของL-carnitine ในร่างกายคือกล้ามเนื้อลายโดยปริมาณที่พบในกล้ามเนื้อลายนั้นสูงกว่าระดับที่พบในเลือดถึง50-200 เท่า แต่การเสริม L-carnitineมากถึง6g ต่อวันระดับL-carnitine ที่พบในกล้ามเนื้อนั้นก็ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

เอกสารอ้างอิง
1. C. Barnett, D.L. Costill, M.D. Vukovichet.Effect of L-carnitine supplementation on muscle and blood carnitine content and lactate accumulation during high-intensity sprint cycling. Int J Sport Nutr, 4 (1994), p. 280
2. R.G. Villani, J. Gannon, M. Self, P.A. Rich. L-carnitine supplementation combined with aerobic training does not promote weight loss in moderately obese women. Int J Sport Nutr Exerc Metab, 10 (2000), p. 199
3. N. Siliprandi, F. Di Lisa, R. Menabo. Clinical use of carnitine. Past, present and future. Adv Exp Med Biol, 272 (1990), p. 175
4. J. Arenas, R. Huertas, Y. Campos, A.E. Diaz, J.M. Villalon, E. Vilas. Effects of L-carnitine on the pyruvate dehydrogenase complex and carnitine palmitoyl transferase activities in muscle of endurance athletes.FEBS Lett, 341 (1994), p. 91
5. I.G. Dragan, A. Vasiliu, E. Georgescu, N. Eremia.Studies concerning chronic and acute effects of L-carnitine in elite athletes. Physiologie, 26 (1989), p. 111
6. M.D. Vukovich, D.L. Costill, W.J. Fink. Carnitine supplementationeffect on muscle carnitine and glycogen content during exercise. Med Sci Sports Exerc, 26 (1994), p. 1122
7. H. Karlic, A. Lohninger. Supplementation of l-carnitine in athletes: does it make sense?. Nutrition, 20 ( 2004), p/ 709–715

(Visited 1,237 times, 1 visits today)

Last modified: May 8, 2019