เรามักถูกบอก หรือ สอนให้ในทุกๆการครั้งที่ทำท่าฝึกนั้นให้ทำอย่างช้าๆ ไม่เช่นนั้นกล้ามเนื้อจะไม่ขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเราก็ยังพบว่า หลายๆคนที่ประสบความเร็จในการพัฒนารูปร่าง รวมทั้งผู้ฝึกชั้นนำหลายๆคนก็ยังฝึกในลักณะที่ เร็ว อยู่ ในขณะเดียวกันผู้ฝึกชั้นนำหลายๆคนก็ยังสนับสนุนการฝึกแบบช้าๆอยู่เช่นกัน ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร เราต้องย้อนกลับไปสู่แนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวกับการฝึกกล้ามเนื้อเบื้องต้น
Siff MC (2003). Supertraining. Supertraining Institute. ISBN 1-874856-65-6.
เราจะพบว่าตามแนวคิดทฤษฏีที่สนับสนุนการเพิ่มกล้ามเนื้อ หรือ Hypergrophy จะพบว่า ผู้ฝึกสามารถฝึกในความเร็ว 60-90% ของความเร็วสูงสุดที่ผู้ฝึกสามารถทำได้ เช่นเดียวกันกับ พละกำลัง(Strength) และ ความทนทาน(Endurance) ที่มีความเร็วของการฝึกต่ำสุดที่ 60% (กล่าวคือ หากความเร็วสูงสุดที่สามารถยกได้เป็น 0.5วินาที ฝึกโดย 60% ของความเร็วสูงสุดคือ เกือบๆ 1 วินาทีนั่นเอง) ดังนั้นเราจะพบว่า ทางงานวิจัย ไม่ว่าจะฝึกด้วย ความเร็วที่ช้า 60% ไปจนถึง เร็ว 90%ของความเร็วสูงสุดนั้นก็สร้างกล้ามเนื้อได้เหมือนกัน ซึ่งสนับสนุนโดยงานวิจัยของ Mark D. Schuenke, Jennifer R. Herman, Roger M. Gliders, Fredrick C. Hagerman, Robert S. Hikida, Sharon R. Rana, Kerry E. Ragg, Robert S. Staron ซึ่งทดลองในกลุ่มผู้หญิงผู้หญิงที่ไม่เคยฝึกเวทเทรนนิ่งมาก่อนมาทำการทดสอบ
– กลุ่มแรกฝึกด้วยจังหวะที่ช้ามากๆ (ยกขึ้น10วินาทีต้านลง4วินาที)
– กลุ่มที่สองฝึกด้วยจังหวะที่ปกติ (1-2วินาทีทั้งขึ้น และ ต้านลง)
ผลการทดลองพบว่าไม่มีผลต่างกันในด้านการเพิ่มกล้ามเนื้อ ดังนั้นหากเรามองกันที่ตัวบททฤษฏีนั้น จะยกอย่างไร ก็ “เพิ่มกล้ามเนื้อได้เหมือนกัน”