ปัจจุบัน นี้ RDA (ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวัน) ของโปรตีนอยู่ที่ 0.8g/ นน ตัว 1 kg โดยที่ค่านี้พบว่าเหมาะสมกับประชากรทั่วไปที่อายุมากกว่า 19 ปี การทานโปรตีนในระดับนี้เหมาะสมสำหรับบุคคลที่ไม่ได้ออกกำลังกาย แต่ไม่เหมาะสมสำหรับบุคคลที่ออกกำลังกายอย่างหนักโดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบ เวทเทรนนิ่ง
แต่กลุ่มคนที่ ออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งนั้นจะมักจะทานโปรตีนมากกว่าระดับที่ RDA แนะนำ ซึ่งสื่อปัจจุบันนั้นนำเสนออันตรายต่อการทานโปรตีนในระดับที่สูงนั้นอาจมีผล เสียต่อไต นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่าการทานโปรตีนมากเกินไปจะทำให้ร่างกายขับแคลเซี่ ยมออกมากกว่าปกติและนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุน
แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าความกังวลดังกล่าวนั้นยังไม่มีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ว่าการทานโปรตีน สูงนั้นจะทำให้เกิดผลเสียกับไตหรือภาวะกระดูกพรุนในกลุ่มบุคคลที่สุขภาพแข็ง แรงแต่อย่างใด
เรื่องผลเสียต่อ ไตนั้นเกิดมาจากการศึกษาในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านไตอยู่แล้ว พบว่าเมื่อผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านไตได้รับโปรตีนสูงๆ จะทำให้เกิดความผิดปกติของไตตามมา
หลังจากนั้นได้มีการศึกษาแบบเดียวกันในบุคคลสุขภาพดี พบว่าการทานโปรตีนสูงนั้นไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของไต
ส่วนเรื่องภาวะ กระดูกพรุนนั้นเกิดจากการศึกษาพบว่าการทานโปรตีนที่สูงทำให้ปัสสาวะมีความ เป็นกรดสูงขึ้น ทำให้ร่างกายดึงแคลเซียมจากกระดูกมาเพื่อลดความเป็นกรดลง แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยต่อมาพบว่าแคลเซี่ยมที่พบในปัสสาวะนั้นเป็นแคลเซียมที่มาจากระบบทาง เดินอาหาร (ทางการกิน) ไม่ใช่แคลเซี่ยมที่ถูกดึงมาจากกระดูก
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยแนะนำว่าในผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีน 0.8g/ นน ตัว 1 kg เพื่อรักษาระดับมวลกระดูก
สรุป
สำหรับคนที่มีสุขภาพดีและมีการทำงานของไตเป็นปกตินั้น ไม่มีหลักฐานว่าการทานโปรตีนสูงนั้นส่งผลเสียต่อกระดูก, ตับและไต
อ้างอิง
E. L. Knight, M. J. Stampfer, S. E. Hankinson, D. Spiegelman, G. C. Curhan, Annals of internal medicine 138, 460 (2003).
M. Blum, M. Averbuch, Y. Wolman, A. Aviram, Archives of internal medicine 149, 211 (1989).
J. E. Kerstetter, K. O. O’Brien, D. M. Caseria, D. E. Wall, K. L. Insogna, The Journal of clinical endocrinology and metabolism 90, 26 (2005).
B. Dawson-Hughes, S. S. Harris, H. Rasmussen, L. Song, G. E. Dallal, The Journal of clinical endocrinology and metabolism 89, 1169 (2004).
G. Vicente-Rodriguez, I. Ara, J. Perez-Gomez, C. Dorado, J. A. Calbet, British journal of sports medicine 39, 611 (2005).
Post Workout: จำเป็นต้องทานคาร์บพร้อมโปรตีนมั้ย?
มักจะได้ยินกัน ว่าการทานคาร์บพร้อมเวย์โปรตีนหลังเล่นนั้นจะช่วยทำให้เกิดภาวะ anabolic ได้มากขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อการสร้างกล้ามเนื้อ
งานวิจัยในปี 2011 ได้ทำการเทียบกันระหว่าง 2 กลุ่ม
กลุ่มที่มี post-workout เป็น เวย์โปรตีน 25 g
กลุ่มที่มี post-workout เป็น เวย์โปรตีน 25 g + maltodextrin 50 g
เมื่อมาทำการวัดเทียบระดับการสังเคราะห์โปรตีนในร่างกายพบว่า ทั้งสองกลุ่มนั้นมีระดับการสังเคราะห์โปรตีนไม่แตกต่างกันในเชิงสถิติ
แต่อย่างไรก็ตามความสำคัญของคาร์บหลังเล่นนั้นจะเป็นเรื่องการฟื้นฟูระดับไกลโคเจนที่ร่างกายใช้ไปในระหว่างการออกกำลังกายมากกว่า
สรุป
- คาร์บไม่ได้ส่งเสริมให้ระดับการสังเคราะห์โปรตีนสูงขึ้น
- คาร์บหลังเล่น สำคัญในแง่ของการฟื้นฟูระดับไกลโคเจนมากกว่า ถ้าไม่ได้มีกิจกรรมกีฬาหลังจากเวทเทรนนิ่งก็อาจจะไม่เสริมคาร์บหลังเล่นก็ทำ ได้
อ้างอิง
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21131864?dopt=Abstract&holding=f1000,f1000m,isrctn
สำหรับคนที่มีสุขภาพดีและมีการทำงานของไตเป็นปกตินั้น ไม่มีหลักฐานว่าการทานโปรตีนสูงนั้นส่งผลเสียต่อกระดูก, ตับและไต”