สารสกัดจากชาเขียวที่มีสารสำคัญอย่าง EGCG ถูกจัดว่าเป็นอาหารเสริมที่ “น่าจะมีประสิทธิภาพ” ซึ่งผ่านการประเมินโดย International society of sport nutrition (ISSN) สำหรับบทความนี้ทาง PlanforFIT.com จะประเมินถึงประสิทธิภาพของสารสกัดชาเขียวว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหน
จากการทดลองต่างๆ พบว่ากลไกหลักของสารสกัดชาเขียว (สารสำคัญคือ EGCG) คือการเพิ่มระดับการเผาผลาญพลังงานให้มากขึ้น สมมติว่าปกติแล้วร่างกายมีการเผาผลาญ 2,000 Kcal/วัน การเสริมสารสกัดชาเขียวจะทำให้ร่างกายเผาผลาญได้มากกว่านั้น ซึ่งการเพิ่มการเผาผลาญนั้นเป็นหนทางนึงในการลด นน เพราะเป็นการเพิ่ม Cal Out > Cal in
ได้มีการทดลองเปรียบเทียบถึงระดับสารสกัดชาเขียวที่มีผลต่อระดับการเผาผลาญพบผลเป็นไปดังรูปข้างล่างนี้ โดยการเสริม EGCG นั้นมีการผสมคาเฟอีนไปอีก 200 mg ซึ่งตัวคาเฟอีนก็เป็นอาหารเสริมที่มีการโฆษณาว่าช่วยการเผาผลาญเช่นกัน ดังนั้นผลตามรูปข้างล่างนั้นเป็นผลมาจาก คาเฟอีน 200 mg + สารสกัดชาเขียว (EGCG) ที่ปริมาณต่างๆ
จะเห็นได้ว่าต่อให้ได้รับปริมาณสาร EGCG มากกว่า 270 mg ก็ไม่ได้ทำให้ระดับการเผาผลาญเพิ่มขึ้น
ส่วนข้อมูลที่หลายคนสนใจและเป็นใจความหลักของบทความนี้คือ สารสกัดชาเขียวนั้นเพิ่มระดับการเผาผลาญได้เท่าไร ซึ่งตามรูปนั้นเป็นการรายงานผลในหน่วย Kj ซึ่งพอแปลงมาเป็นหน่วย Kcal ที่เราคุ้นเคยแล้วก็พบว่า คาเฟอีน 200 mg + สารสกัดชาเขียว (EGCG) ที่ปริมาณต่างๆ (270-900 mg แต่ผลก็ไม่ต่างกัน) พบว่ามีการเผาผลาญมากกว่ากลุ่มควบคุม 158 Kcal/วัน
ตามทฤษฏีแล้ว การที่จะลดไขมัน 1 kg นั้นต้องให้พลังงานติดลบประมาณ 7,000 Kcal ดังนั้นการหวังผลจากการใช้ คาเฟอีน 200 mg + สารสกัดชาเขียว (EGCG) นั้นจะใช้เวลาประมาณ 7,000/158 = 44 วัน ในการลดไขมัน 1 kg
หรือกรณีที่คิดว่ามีการคุมอาหาร + ออกกำลังกายให้มีพลังงานติดลบวันละ 500 Kcal อยู่แล้ว จะคำนวณได้ว่า
– ออกกำลังกาย + คุมอาหาร ใช้เวลา 7,000/500 = 14 วัน
– ออกกำลังกาย + คุมอาหาร + คาเฟอีน 200 mg + EGCG อย่างน้อย 270 mg จะใช้เวลา 7,000/658 = 11 วัน
ผลต่าง 3 วันนั้นจะคุ้มกับเงินที่จ่ายไปหรือไม่นั้น ตัวคุณเป็นคนตัดสินใจเองครับ
อ้างอิง
Berube-Parent S, Pelletier C, Dore J, Tremblay A. Effects of encapsulated green tea and Guarana extracts containing a mixture of epigallocatechin-3-gallate and caffeine on 24 h energy expenditure and fat oxidation in men. The British journal of nutrition. 2005;94(3):432-6.