CLA ลดไขมันได้จริงมั้ย

CLA ย่อมาจาก Conjugated Linoleic acid เป็นกรดไขมันประเภทนึงซึ่งปัจจุบันนำมาใช้ในวงการอาหารเสริมในแง่ของผลิตภัณฑ์ช่วยลดน้ำหนักและไขมัน

กลไกที่เชื่อกันว่า CLA ช่วยในการลดน้ำหนักและไขมัน

  1. ช่วยเพิ่มระดับการเผาผลาญไขมันเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน (fat oxidation)
  2. เพิ่มความไวต่ออินซุลิน

การศึกษาในมนุษย์พบว่า CLA มีทั้ง “ได้ผล” และ “ไม่ได้ผล”

จำนวนอาสาสมัคร (คน) ปริมาณ CLA (กรัม) ระยะเวลาทดลอง การวัดไขมัน ผลการทดลอง
134 4.5 24 เดือน DEXA ไขมันลดลง 3.2 kg (แต่กลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำมันมะกอกลด 2.8 kg)
101 3.4 12 เดือน DEXA ไม่แตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
35 6.4 9 เดือน DEXA ไม่แตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
63 1.7 12 สัปดาห์ วัดกระแสไฟฟ้า ไขมันลดลง 0.5 kg (กลุ่มควบคุมลด 0.1 kg)
56 3 8 สัปดาห์ วัดกระแสไฟฟ้า ไม่แตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
37 8 สัปดาห์ DEXA/ คาลิเปอร์ ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมลด %fat ไปประมาณ 2%
  • ในงานวิจัยไม่ได้ระบุปริมาณ CLA ที่ใช้

สำหรับการทดลองแรกนั้นใช้ระยะเวลานาน 24 เดือน ซึ่งพบว่ากลุ่มที่ได้รับ CLA นั้นสามารถลดไขมันได้ดีกว่าเฉลี่ย 0.4 kg การที่ลดได้แตกต่างกันเฉลี่ย 0.4 kg นั้น อาจส่งผลให้เห็นความแตกต่างอยู่บ้าง แต่อย่าลืมว่าระยะเวลาที่ทดลองนั้นก็ยาวนานถึง 24 เดือนหรือสองปีเลยทีเดียว

นอกจากนี้ยังมีงานทดลองที่ใช้ CLA ในปริมาณสูงๆ ขนาด 6.4 g ต่อวัน และศึกษานานถึง 9 เดือน แต่ก็พบว่าระดับการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม

ผลเสียที่พบ

ในบางงานวิจัยพบว่ากลุ่มที่ได้รับ CLA มีระดับ LDL และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น

สรุป

  1. ถึงแม้จะมีการทดลองที่ศึกษาจะพบกลไกที่อาจจะชี้ได้ว่า CLA อาจจะมีส่วนช่วยในการลดไขมัน แต่การทดสอบถึงประสิทธิภาพในการลดไขมันจริงๆ นั้นยังพบว่าไม่ค่อยแตกต่างจากกลุ่มควบคุม
  2. จำนวนงานวิจัยที่พบว่าไม่มีผลต่อการลดไขมันนั้นมีจำนวนมากกว่างานที่พบว่ามีผลต่อการลดไขมัน
  3. ปริมาณที่ใช้ค่อนข้างสูงแต่ยังไม่เห็นผลชัดเจน

 

อ้างอิง

  1. Lehnen TE, da Silva MR, Camacho A, Marcadenti A, Lehnen AM. A review on effects of conjugated linoleic fatty acid (CLA) upon body composition and energetic metabolism. J Int Soc Sports Nutr. 2015;12:36.d
  2. Gaullier JM, Halse J, Hoye K, Kristiansen K, Fagertun H, Vik H, et al. Supplementation with conjugated linoleic acid for 24 months is well tolerated by and reduces body fat mass in healthy, overweight humans. J Nutr. 2005;135(4):778-84.
  3. Chen SC, Lin YH, Huang HP, Hsu WL, Houng JY, Huang CK. Effect of conjugated linoleic acid supplementation on weight loss and body fat composition in a Chinese population. Nutrition. 2012;28(5):559-65
  4. Kim J, Paik HD, Shin MJ, Park E. Eight weeks of conjugated linoleic acid supplementation has no effect on antioxidant status in healthy overweight/obese Korean individuals. Eur J Nutr. 2012;51(2):135-41.
  5. Falcone PH, Tai CY, Carson LR, Joy JM, Mosman MM, Vogel RM, et al. Subcutaneous and segmental fat loss with and without supportive supplements in conjunction with a low-calorie high protein diet in healthy women. PLoS One. 2015;10(4):e0123854.
  6. Larsen TM, Toubro S, Gudmundsen O, Astrup A. Conjugated linoleic acid supplementation for 1 y does not prevent weight or body fat regain. Am J Clin Nutr. 2006;83(3):606-12.
  7. Norris LE, Collene AL, Asp ML, Hsu JC, Liu LF, Richardson JR, et al. Comparison of dietary conjugated linoleic acid with safflower oil on body composition in obese postmenopausal women with type 2 diabetes mellitus. Am J Clin Nutr. 2009;90(3):468-76.

 

 

(Visited 725 times, 1 visits today)

Last modified: May 8, 2019