เป็นอาหารเสริมที่โฆษณาว่าสามารถเพิ่มระดับเทสโทสเตอโรนได้ (จากการทดลองในสัตว์ทดลอง)
สำหรับการทดลองในคนนั้นก็มีมาแล้ว แต่พบว่าส่วนมากเป็นผลมาจากการที่เลือกใช้อาสาสมัครที่ไม่เคยเล่นเวทเทรนนิ่งมาทดลอง ทำให้ผลที่ได้นั้นอาจจะเกิดมากจาก newbie gain พูดง่ายๆ คือเกิดจากการที่ร่างกายยังไม่คุ้นกับการการเวทเทรนนิ่งเลยทำให้เกิดการพัฒนาได้ดีในช่วงแรกๆ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ผลที่ได้จากการเสริม DAA
สำหรับการทดลองที่จะนำมาพูดนี้จะตัดประเด็นตรงนี้ออก โดยเลือกอาสาสมัครที่มีประสบการณ์เวทเทรนนิ่งมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี นอกจากนี้ยังใช้ DAA ในระดับที่สูงถึง 6 g ต่อวัน ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณที่สูงทีเดียว
ผลการทดลองเป็นไปดังรูปข้างล่าง
พบว่าระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนนั้นกลับลดลงในกลุ่มที่ได้รับ DAA โดยพบว่ายิ่งเสริมมาก ยิ่งมีระดับลดลงมาก (เทียบกันระหว่าง 3 g และ 6 g) โดยทางผู้วิจัยก็ยังไม่ทราบถึงสาเหตุว่าทำไม DAA ถึงได้ผลดังกล่าว
Note: ในทางกลับกัน สาเหตุว่าทำไม DAA ถึงเพิ่มเทสโทสเตอโรนได้นั้นก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ปัจจุบันเชื่อว่าการที่ DAA ที่สะสมในอัณฑะและต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary) จะไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งเทสโทสเตอโรนมากขึ้น
จากข้อมูลตรงนี้ทำให้การเสริมอาหารเสริมประเภท DAA นั้นอาจจะยังอยู่ในระดับที่เรียกว่า “ไม่จำเป็น” จนกว่าจะมีผลวิจัยชี้ชัดจริงๆ ว่าอาหารเสริมดังกล่าวมีผลตามที่โฆษณาจริงๆ
อ้างอิง
Melville GW, Siegler JC, Marshall PW. Three and six grams supplementation of d-aspartic acid in resistance trained men. J Int Soc Sports Nutr. 2015;12:15.