Fat Burner ช่วยลดไขมันได้มากแค่ไหน


จากบทความอาหารเสริมสำหรับการลดไขมันและน้ำหนัก จะพบว่ามีแต่สารที่ยังต้องรองานวิจัยยืนยันผลแทบทั้งนั้น และบางตัวพบว่าแทบไม่มีผลต่อการลดไขมันด้วยซ้ำ จึงทำให้ความน่าสนใจของการใช้ fat burner นั้นน่าจะลดลง

 

ในเมื่อสารแต่ละตัวยังไม่ได้ยืนยันผลประสิทธิภาพจากการวิจัย หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าถ้าเป็น fat burner ที่เอาสารที่ว่านี้มาผสมกันมันอาจจะได้ผลก็ได้

จากการวิจัยในปี 2013 ก็ได้ทำการเอา fat burner ยี่ห้อนึงมาทดสอบ ซึ่งส่วนผสมหลักเป็น

Caffeine: ตัวยอดนิยมที่มักมีการโฆษนาว่าเพิ่มการเผาผลาญ (thermogenesis),เพิ่มการสลายไขมันจากแหล่งสะสม (lipolysis)

green tea extract: จากบทความอาหารเสริมสำหรับการลดไขมันได้จัดตัวนี้ว่า “น่าจะมีประสิทธิภาพ”

L-carnitine tartate: ตัวยอดนิยมที่คนที่จะลดไขมันมักนึกถึง แต่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไร (วันหลังจะมีบทความเกี่ยวกับ L-carnitine อีกทีครับ)

Herbal extracts: สารสกัดจากสมุนไพรอื่นๆ เช่น yerba mate

จากการทดลองพบว่ากลุ่มที่ได้รับ fat burner นั้นมีระดับการเผาผลาญเพิ่มขึ้นประมาณ 150 Kcal/วัน (สำหรับการทาน 1 ครั้ง) หรือเทียบเท่ากับการออกกำลังกายประมาณ 10-15 นาที ขึ้นกับความเข้มข้นของการออกกำลังกาย

จะเห็นได้ว่าระดับการเผาผลาญที่เพิ่มมานั้นไม่ได้เยอะซักเท่าไร เมื่อเทียบกับทฤษฏีทีว่าการจะเผาผลาญไขมัน 1 kg ต้องทำให้พลังงานติดลบประมาณ 7,000 Kcal นั้น พบว่าถ้าใช้ fat burner ที่มีการเผาผลาญเพิ่มขึ้น 150 Kcal/ วัน นั้น ต้องใช้เวลา 7,000/150 = ประมาณ 46 วัน

ดังนั้นถ้าเราจะไม่ใช้ fat burner แล้วใช้การออกกำลังกายแทนก็ย่อมทำได้ และสามารถประหยัดเงินได้อีกด้วย

สำหรับกรณีที่คิดว่าจะคาร์ดิโอวันละ 1 ชม ในกรณีที่มีหรือไม่มี fat burner ควบคู่ จะลองคำนวณตามทฤษฏีให้คร่าวๆ ครับ

ออกกำลังกายอย่างเดียว: ประมาณ 500 Kcal จะใช้เวลาประมาณ 14 วันในการลดไขมัน 1 kg (7,000/500 = 14)

ออกกำลังกาย + fat burner: ประมาณ 650 Kcal (จากการออกกำลังกาย 500 และจากอาหารเสริม 150 Kcal) จะใช้เวลาประมาณ 11 วัน (7,000/650 = 10.76)

จะเห็น ว่าในกรณีที่เสริม fat burner ไปนั้นก็ประหยัดวันลงไปได้บ้าง (ผลต่าง 3 วัน แต่ก็ถือว่าไม่ได้แตกต่างกันมากซักเท่าไร) ซึ่งก็แล้วแต่การประเมินความคุ้มค่าของแต่ละคนแล้วละครับว่าจะเลือกใช้ fat burner ดีหรือไม่

ปล ตัวเลขที่ได้มานี่เป็นการทดลองต่อ 1 serving

อ้างอิง

Outlaw J, Wilborn C, Smith A, Urbina S, Hayward S, Foster C, Wells S, Wildman R, Taylor L: Effects of ingestion of a commercially available thermogenic dietary supplement on resting energy expenditure, mood state and cardiovascular measures. J Int Soc Sports Nutr 2013, 10(1):25.

(Visited 689 times, 1 visits today)

Last modified: May 10, 2019