หลายคนอาจจะเคยได้ยิน ได้อ่าน ได้ทราบมาว่า front squat นั้นมีข้อดีตรงที่หลังส่วนล่าง (lower back) นั้นรับภาระน้อยกว่าและทำให้โฟกัสกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (quad) ได้ดีกว่า back squat หรืออาจจะเคยได้ยินว่าการเล่น back squat นั้นกระตุ้นกล้ามเนื้อพวกก้นและต้นขาด้านหลังได้ดีกว่า
อย่างไรก็ตาม หลายอย่างๆ ในวงการฟิตเนสนั้นอาจจะเป็นแหล่งประเภทข้อมูลแบบที่ฟังแล้วดูน่าเชื่อถือ มีหลักการรองรับ บางข้อมูลก็มีหลักการและถูกพิสูจน์ว่าเป็นความจริง แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลประเภทนี้หลายๆ อย่างนั้นไม่มีหลักฐานในการรองรับความถูกต้องของข้อมูลนั้นๆ
มีการทดลองเพื่อที่จะดูว่าอัตราการทำงานของกล้ามเนื้อระหว่างท่า front squat กับ back squat แตกต่างกันอย่างไรโดยใช้การวัดค่า EMG บางคนอาจจะมองว่ามันเป็นการวัดแค่ขณะการเล่นเวทเท่านั้น ไม่ใช่วัดการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ (ซึ่งการวัดการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อนั้นต้องใช้ระยะเวลา) แต่อย่าลืมว่าการเวทเทรนนิ่งนั้นเป็นการเรียกใช้กล้ามเนื้อให้ทำงาน ดังนั้นการวัดค่า EMG ซึ่งเป็นการวัดการทำงานของกล้ามเนื้อก็ตอบโจทย์นี้ได้ ถ้ากล้ามเนื้อทำงานมากกว่าก็หมายความว่ากระตุ้นกล้ามเนื้อได้ดี
การทดลองนำเอาอาสาสมัครที่มีประสบการณ์ในการเล่นเวทมาแล้ว 1 ปี มาทำการวัดระดับการทำงานของกล้ามเนื้อดังต่อไปนี้
BF (Biceps femoris) กล้ามเนื้อแฮมสตริงมัดด้านนอกของต้นขา
ST (Semitendinosus) กล้ามเนื้อแฮมสตริงมัดด้านในของต้นขา
RF (Rector femoris) กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า มัดที่อยู่ตรงกลาง
VL (Vastus lateralis) กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า มัดที่อยู่ด้านนอกของต้นขา
VM (Vastus medialis) กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า มัดที่อยู่ด้านในของต้นขา
ES (Erector spine) กล้ามเนื้อบริเวณแนวกระดูกสันหลัง
พบกว่าการทำงานของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ดังกล่าวนั้นไม่แตกต่างกันเลย ไม่ว่าจะเล่นแบบ front หรือ back squat
ส่วนที่แตกต่างกันคือการทดลองพบว่าการเล่นแบบ front squat นั้นมีแรงกดต่อหัวเข่าน้อยกว่าการเล่นแบบ back squat ประมาณ 18% ซึ่งตรงนี้ทำให้ front squat เหมาะกับคนที่มีปัญหาด้านข้อต่อและหัวเข่า
สรุป
1.ทั้งสองท่านี้บริหารกล้ามเนื้อต้นขาได้ดีพอๆ กัน ไม่จำเป็นต้องฝึกแยกเป็น 2 ท่าในการฝึกวันเดียวกัน
2.Front squat มีแรงกดต่อข้อต่อและหัวเข่าน้อยกว่า อาจจะทำให้เหมาะกับคนที่หัวเข่ามีปัญหามากกว่า
3.Back squat สามารถใช้ นน ได้มากกว่า อันนี้เนื่องมาจากตำแหน่งของการวางบาร์ ถ้าหากต้องการเล่นหนักๆ (และไม่มีปัญหาเรื่องข้อต่อและหัวเข่า) การเล่น Back squat ก็เป็นตัวเลือกที่ดี อย่าลืมว่า นน ที่โหลดมากขึ้นก็ต้องการใช้กล้ามเนื้อมากขึ้น (แต่ถ้า นน ที่ใช้ระหว่างท่า back กับ front นั้นเหมือนกัน ก็เรียกใช้กล้ามเนื้อพอๆ กัน)
อ้างอิง
Gullett JC, Tillman MD, Gutierrez GM, Chow JW. A biomechanical comparison of back and front squats in healthy trained individuals. J Strength Cond Res. 2009;23(1):284-92.