Front Squat VS Squat

Squat หรือ Back Squat คือท่าฝึกต้นขาด้านหน้าที่ดีที่สุดท่าหนึ่งในบรรดาท่าทั้งหลาย แต่ข้อจำกัดของการฝึกท่านี้คือ แรงเค้นและแรงกดที่บริเวณเข่าที่มีอาจจะสร้างปัญหาให้กับผู้ที่มีแนวโน้มมีการบาดเจ็บบริเวณเข่า ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้เป็นที่ตั้งคำถามว่า ลักษณะการ Squat แบบไหนส่งผลต่อหัวเข่าน้อยที่สุด

จึงมีแนวคิดเรื่องการทำท่า Front Squat หรือการ squat ที่วางบาร์เบลล์ไว้บนหัวไหล่ด้านหน้า แทนการวางไว้บริเวณบ่าหลังต้นคอด้วยแนวคิดที่ว่าจะลดแรงกดจากหัวเข่าลง

จากการวิจัยของ JONATHAN C. GULLETT, MARK D. TILLMAN, GREGORY M. GUTIERREZ, AND JOHN W. CHOWเรื่องการศึกษาเปรียบเทียบทางชีวกลศาสต์ระหว่างท่าฝึก Squat vs Front Squat โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีประสบการณ์การฝึกทั้ง Front และ Back squat เป็นเพศชาย 9คน เพศหญิง 6คน ตรวจวัดด้วยอุปกรณ์ electromyographic (EMG) เพื่อศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อ และ วัด Motion การเคลื่อนไหวตลอดการฝึกด้วยกล้องความถี่ พบข้อมูลต่อไปนี้การ

ทางด้าน Kinetic
แรงบีบกดและแรงดึงในท่า Back Squat นั้น “มากกว่า” ท่าฝึก Front squat อย่างมีนัยสำคัญที่
Back squat11 +- 2.3 N.kg -1 เทียบกับ front squat ที่9.3 +- 1.5 N.kg1
ไม่พบค่าที่แตกต่างกันสำหรับ แรงตัดด้านหน้า/หลัง

ทางด้าน EMG
พบว่ากิจกรรมของการใช้กล้ามเนื้อ Muscular Activity ระหว่าง Back vs Front Squat  นั้น “ไม่ต่างกัน” แม้ว่าการวางตำแหน่งบาร์ที่ต่างกันนั้น กล้ามเนื้อทำงาน “ไม่ต่างกัน”

ข้อค้นพบอื่นๆที่น่าสนใจ
–  Andrews et al. พบกว่าในระหว่างที่ฝึก Machine Squat นั้นมีแรงตัดที่เข่ามากกว่า Squat  ถึง 30 -40%
ซึ่งส่งผลเสียต่อ cruciate ligaments บริเวณเข่าด้วย
– กิจกรรมของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้านั้นมีมากในช่วง ascending หรือช่วงตอนที่ถีบตัวขึ้นยืน มากกว่าช่วง descending หรือช่วงที่ย่อลง

บทสรุปของนักวิจัย
–  Back Squat หรือ Squat ปกตินั้นมีแรงกด/ดึงที่หัวเข่ามากกว่า รวมทั้งมี แรงกระทำโดยรวม  (net forces) บริเวณเข่ามากกว่า Front Squat

– ได้ให้แนวคิดว่า Front squat นั้นพบว่ามีประโยชน์สำหรับผู้ฝึกที่หัวเข่ามีปัญหา บาดเจ็บ หรือมีแนวโน้มที่จะบาดเจ็บในการพิจารณาฝึกแทนท่า Squat

– ทั้ง Squat และ Front squat นั้นใช้ลักษณะการทำงานกล้ามเนื้อเหมือนๆกัน

– พบว่ากิจกรรมในการทำงานของกล้ามเนื้อมีมากตอนที่ออกแรงถีบตัวขึ้น มากกว่าตอนที่ย่อตัวลง

– พบกว่า Front squat นั้นเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่บาดเจ็บหัวไหล่ที่ไม่สามารถเอื้อมมือไปจับบาร์ในท่า  Back squat ได้

– Machine Squat นั้นมีแรงกดมากกว่าท่า Squat ปกติถึง 30 – 40%

– ทิ้งท้ายงานวิจัยไว้ว่า อาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมจากเดิมอีกในกรณีต่อๆไป

(Visited 397 times, 1 visits today)

Last modified: May 9, 2019