Gastric emptying Time – ใช้ดี ๆ ลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น

เคยสังเกตตัวเองไหมว่า เวลารับประทานอาหารบางประเภท หรือบางร้านแล้วรู้สึกอิ่ม แน่นท้อง อยู่ได้นานมาก ในขณะที่ไปกินอาหารแบบอื่น ๆ แล้วพบว่าเหมือนยังไม่ได้กินอะไรเลยแม้จะกินเสร็จแล้ว และที่สำคัญกว่านั้นคือ
คำว่า Gastric emptying time (ขอใช้ตัวย่อเป็น GET) แปลเป็นไทยอาจจะยากสักหน่อยเพราะยังไม่มีบัญญัติคำไทย แต่เพื่อความเข้าใจแล้ว ขออธิบายเป็น “ระยะเวลาที่อาหารที่เรารับประทานเข้าไปแล้วคงที่อยู่ในกระเพาะ จนถูกกระเพาะไล่ให้ออกไปอยู่ที่ลำไส้เล็กจนหมด”

งงไหมครับ ? อธิบายลงละเอียดคือ ระยะเวลาที่ใช้ตั้งแต่เรากลืนอาหารลงไปให้อาหารให้ผ่านทางช่องคอ หลอดอาหาร ก่อนจะลงมาอยู่ในกระเพาะอาหารตามลำดับ และอาหารนั้นจะคงอยู่ในกระเพาะอาหารเพื่อย่อยในขั้นเบื้องต้น ก่อนจะคลายหูรูดกระเพาะอาหารส่วนล่างเพื่อให้อาหารไหลออกไปอยู่ลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งระยะเวลาทั้งหมดจนถึงก่อนอาหารไปสู่ลำไส้เล็ก จะเรียกว่า Gastric emptying time

ความสำคัญของ Gastric emptying time คือ หากอาหารประเภทใดที่ทำให้ GET มีค่าสูงขึ้น (หรืออีกนัยหนึ่งคือ อาหารค้างในกระเพาะนานกว่า) จะทำให้เรารู้สึกอิ่มท้องนานกว่า และรู้สึกหิวอาหารในมื้อถัดไปช้าลง ในทางตรงกันข้าม หากรับประทานอาหารที่มีค่า GET ต่ำ แม้จะรู้สึกอิ่มท้องภายหลังจากรับประทานอาหารแล้วก็ตาม แต่จะกลับมารู้สึกหิวได้ในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลให้เริ่มมองหาอาหารมารับประทานภายหลังจากกินมื้อก่อนหน้าไปในเวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมงก็ได้ และอาจทำให้เรากินอาหารบ่อยและมากกว่า 3 มื้อต่อวันก็เป็นได้

ฟังอย่างนี้แล้ว เราจะคิดตามได้เลยว่า อาหารประเภทใดบ้าง ที่ส่งผลให้มีค่า GET สูง หรืออาหารค้างในกระเพาะนานขึ้น ย่อมมีผลดีต่อความอิ่มระยะยาว แต่อย่าลืมว่าความรู้สึกหิว/อิ่มนั้น อาศัยปัจจัยอื่นด้วย ได้แก่ ความตึงตัวของกระเพาะอาหารภายหลังจากรับประทานอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดและ GET ด้วย หากยังสับสนอยู่ อยากให้ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ครับ

เปรียบเทียบความเข้าใจระหว่างความอิ่ม และ GET

ฉะนั้นประเภทของอาหารต่อไปนี้จะมีบทบาทต่อการเพิ่มและลดของค่า GET ครับ

GET มีบทบาทในการลดน้ำหนักอย่างไร ? หากเรารับประทานอาหารที่มีค่า GET สูงแล้ว จะทำให้เรารู้สึกอิ่มท้องนานกว่า ช่วยลดโอกาสที่จะมีพฤติกรรมการกินอาหารแบบจุบจิบ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะการมีน้ำหนักเกินได้ แต่ในทางตรงกันข้าม หากเป็นการกินอาหารเพื่อเตรียมตัวไปออกกำลังกาย ควรเลือกอาหารที่มีค่า GET ต่ำ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารทั้งหมดได้ผ่านกระเพาะไปสู่ลำไส้เล็กแล้ว ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอาการไม่สบายตัวหรืออาเจียนจากการออกกำลังกายภายหลังกินอาหารมื้อเล็กได้

 

อ้างอิง

Hellmig S1, Von Schöning F, Gadow C, Katsoulis S, Hedderich J, Fölsch UR, Stüber E.(2006) Gastric emptying time of fluids and solids in healthy subjects determined by 13C breath tests: influence of age, sex and body mass index. J Gastroenterol Hepatol. 2006 Dec;21(12):1832-8.

(Visited 6,703 times, 1 visits today)

Last modified: May 10, 2019