HMB อาหารเสริมช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อได้จริง

Supplement, Tips and Technique

ทำความรู้จัก HMB

การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการเพิ่มความแข็งแรงและขนาดของกล้ามเนื้อ  ซึ่งการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งนั้นจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดความเสียหายและอาจต้องใช้ระยะเวลาหลายวันในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ในปัจจุบันมีการนำอาหารเสริมหลายๆ ชนิดมาช่วยในกระบวนการฟื้นฟูซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่ได้รับความเสียหายดังกล่าว และอาหารเสริมชนิดนึงที่น่าสนใจและกำลังได้รับการวิจัยอย่างแพร่หลาย ณ ขณะนี้คือ HMB

HMB เป็นสารที่ได้จากกระบวนการเปลี่ยนกรดอะมิโนลิวซีน

จากการศึกษาในมนุษย์พบว่าเมื่อได้รับลิวซีน 60g ร่างกายจะสังเคราะห์ HMB ได้ในปริมาณแค่ 3 g เท่านั้น

การที่จะทานอาหารให้ได้ลิวซีนถึง 60g เพื่อที่จะได้ปริมาณ HMB ที่ต้องการนั้นเป็นไปได้ยาก จึงมีการแนะนำให้ทาน HMB ในรูปอาหารเสริมมากกว่า

 

ผลของ HMB ต่อกล้ามเนื้อและร่างกาย

พบว่า HMB มีผลต่อการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อเหมือนกับการได้รับลิวซีน นอกจากนี้ยังพบว่าช่วยลดอัตราการสลายโปรตีนในกล้ามเนื้ออีกด้วย

การกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนนี้และลดอัตราการสลายโปรตีนในกล้ามเนื้อดังกล่าวเป็นผลดีต่อการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ

นอกจากกลไกทั้งสองดั่งกล่าวแล้ว HMB ยังสามารถกระตุ้น satellite cell ที่อยู่ในกล้ามเนื้อได้ ซึ่งตัว satellite cell นี่เองที่เป็นเซลล์ที่สำคัญต่อกระบวนการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ

จากการศึกษาในนักกีฬาเพศชาย 39 คน และเพศหญิง 36 คน หลังจากการทดลอง 4 สัปดาห์พบว่ากลุ่มที่ได้รับ HMB มีปริมาณไขมันลดลงมากกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (กลุ่ม HMB ลดลง 1.1%, กลุ่มควบคุมลดลง 0.5%)  และกลุ่มที่ได้รับ HMB สามารถเพิ่มน้ำหนักที่ใช้การ bench press ได้ถึง 7.5 kg ซึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุมที่เพิ่มได้ 5.2 kg

จากการศึกษาพบว่าปริมาณ HMB ในเลือดสูงสุดหลังจากได้ทาน HMB ไปแล้ว 1 ชั่วโมง

จึงมีการแนะนำว่าควรทาน HMB ปริมาณ 1-2 g ก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้มีระดับ HMB ในเลือดมากพอที่จะลดอัตราการสลายกล้ามเนื้อในระหว่างออกกำลังกาย และมีปริมาณ HMB สูงสุดที่ทำให้การกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนกล้ามเนื้อใหม่พอดีในช่วงที่ออกกำลังกายเสร็จสิ้น

 

อ้างอิง

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10978853

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15665304

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19211028

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18173841

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20607321

 

(Visited 1,717 times, 1 visits today)

Last modified: May 8, 2019