สำหรับการฝึกไหล่ด้วยท่า sitting DB military press (คือ DB shoulder press แบบนั่ง) นั้นจะมีกล้ามเนื้อหลายๆ มัดร่วมกันทำงานอย่าง ไหล่ (ไหล่หน้า, ไหล่ข้าง และไหล่หลัง), หนอกคอ และ ไตรเซป ซึ่งตำราเวทเทรนนิ่งบางเล่มแนะนำว่าการยกแบบไม่เต็มระยะการเคลื่อนไหว (partial reps) จะช่วยไม่ให้หนอกคอมาทำงานร่วมมากเกินไปและทำให้กล้ามเนื้อไหล่ทำงานได้ดี (ยกตัวอย่างหนังสือ Frederick, CH. Hardcore Bodybuilding. A Scientific Approach
แต่การทดลองวัดค่า EMG [1] ซึ่งเป็นการบอกว่ากล้ามเนื้อมีการทำงานมากน้อยแค่ไหน ได้ทำการทดสอบเปรียบเทียบท่า DB shoulder press ในระยะการเคลื่อนไหวต่างๆ โดยจุดเริ่มต้นคือเมื่อศอกอยู่ต่ำกว่าแนวไหล่ดังรูป
กลุ่มแรก (R1) คือกลุ่มที่ยกมาจนศอกอยู่พอดีกับแนวไหล่ดังรูป (partial rep)
กลุ่มที่สอง (R2) คือกลุ่มที่ยกเลยแนวไหล่ขึ้นมาแต่แขนไม่ยืดสุด (partial rep)
กลุ่มสุดท้าย (R3) คือกลุ่มที่ยกจนเต็มระยะการเคลื่อนไหว (full rep)
ผลการตรวจวัดเป็นไปตามรูป
สังเกตได้ว่าการเล่นแบบ R3 หรือการเล่นแบบ full rep นั้นทำให้ระดับการทำงานกล้ามเนื้อต่างๆ มากกว่ากลุ่มที่เล่นแบบ partial rep อย่าง R1 และ R2 โดยที่การเล่นนั้นใกล้เคียงกับ full rep มากเท่าไรก็ยิ่งมีระดับการใช้งานกล้ามเนื้อมากขึ้น
สรุป: การฝึกควรจะฝึกให้เต็มระยะการเคลื่อนที่จะทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดีกว่า
ชื่อตัวย่อกล้ามเนื้อในรูปการทดลอง
PMCH: Pectoralis major ส่วน clavicular head
AD : ไหล่หน้า
MD: ไหล่ข้าง
PD: ไหล่หลัง
UT: หนอกคอส่วนบน
MT: หนอกคอส่วนกลาง
TM: Teres major
TBLH: Triceps ส่วนของ Long head
อ้างอิง
1. Paoli A, Marcolin G, Petrone N: Influence of different ranges of motion on selective recruitment of shoulder muscles in the sitting military press: an electromyographic study. J Strength Cond Res2010, 24(6):1578-1583.