Squat ย่อลึกแค่ไหนถึงจะดีที่สุด

15_Squat_p

เป็นที่ถกเถียงกันมาหลายยุคสมัย ว่าจริงๆแล้วท่า สควอท ท่าฝึกทรงพลังสำหรับกล้ามเนื้อต้นขา และ Lower body นั้นควรจะย่อลงลึกขนาดไหน

FULL SQUAT ย่อลงลึกจนสุด หรือเรียกว่า ฟูลสควอท คือการย่อลงในท่าสคอวทให้ลึกที่สุดเท้าที่จะย่อลงได้ ท่าฝึกนี้นิยมในหมู่นักยกน้ำหนัก และ Powerlifter รวมถึงนักเพาะกายในสมัยก่อน ซึ่งเป็นท่าทรงพลังที่และ “จำเป็นต้องฝึกให้เต็มแนวการเคลื่อนไหว”

Parallel SQUAT หรือ การย่อลงในท่าสควอทจนต้นขาช่วงบนขนาดพื้น หรือทำมุมตั้งฉากกับต้นขาด้านล่างพอดี ซึ่งถูกนำมาใช้ในกลุ่มผู้ฝึกเพาะกายยุคใหม่ๆที่กล่าวว่าการฝึกแบบนี้นั้น “เซฟหัวเข่ากว่า”

แน่นอนเมื่อมีข้อคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน จึงเกิดการตั้งคำถาม และ กล่าวถึงกันเป็นเรื่องปกติ นักวิจัยจึงได้ทำการศึกษาทดลองเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการ Squat ทั้งมุมองศาต่างๆซึ่งส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ และ แรงกดที่กระทำต่อหัวเข่า

จากการศึกษาพบว่า
1.ในช่วงเริ่มต้นจนผ่าน 10-70องศาแรกของการย่อขา พบว่ากล้ามเนื้อแฮมสตริงมีส่วนร่วมในการออกแรงในท่าสคอวทด้วยเช่นกัน

2.กล้ามเนื้อต้นขาทำงานมากที่สุดในช่วงที่ต้นขาทำมุมผ่าน 10องศา ไปจนถึง 90องศาหรือ สุดแค่ Parallel Squat

3.กล้ามเนื้อก้น Gluteus Maximus ถูกกระตุ้นมากที่สุดหลังจากช่วง 90องศาเป็นต้นไปจนถึงจุด Full squat

4.พบแรงเค้นในหัวเข่ามากที่สุดเมื่อต้นขาทำมุม 90องศา

 

จากการทดลองได้ข้อสรุปเบื้องต้นดังนี้

1.ถ้าต้องการการพัฒนาเพียงแค่กล้ามเนื้อต้นขา Quadriceps เพียงอย่างเดียวการ Parallel SQUAT นั้นเพียงพอแล้ว มุมของขาที่พับมากไปกว่านี้อาจเรียกได้ว่าเกินความจำเป็น

2.ถ้าต้องการพัฒนาของกล้ามเนื้อเหยียดสะโพก ก้น จำเป็นต้องฝึก FULL SQUAT เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อกลุ่มนั้น

3.ถ้ามีปัญหาเรื่องหัวเข่า หรือ มีแนวโน้มที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่า ฝึก Parallel นั้นสมเหตุสมผล และเป็นสิ่งที่ควรทำมากที่สุด เพราะการย่อลงเกินขนาน หรือ  90องศานั้นสร้างแรงเค้นที่หัวเข่ามากขึ้น

4.นักวิจัยกล่าวเพิ่มเติมว่าเพื่อที่จะฝึก FULL SQUAT ควรต้องมีการสำรวจความอ่อนตัว และ สรีระของผู้ฝึกก่อนทำการฝึกเพื่อป้องกันผลเสียจากแรงเค้นที่ผิดมุมอันเกิดจากสรีระที่ไม่เอื้ออำนวยของผู้ฝึก เช่น ปัญหาขาดความอ่อนตัวในการพับเท้าเข้าหาหน้าแข้งทำให้เวลาย่อลงต่ำกว่า90องศานั้นส้นเท้าลอยอัตโนมัติ หรือ เสียการทรงตัว

5.นักวิจัยกล่าวเพิ่มเติมว่า การ FULL SQUAT อย่างถูกวิธีนั้นไม่มีความเสี่ยงในกลุ่มผู้ที่มีสรีระปกติที่สามารถทำท่า FULL SQUAT ได้

6.สำหรับผู้ที่มีปัญหาเอ็นไขว้หน้า ไขว้หลัง ไม่ควรฝึกเกิน 50 – 60องศาจนกว่าอาการจะหายขาด

 

อ้างอิง 

Klein K. The deep squat exercise as utilized in weight training for athletes and its effects on the ligaments of the knee. JAPMR. 15(1):6 – 11.

Li G, Zayontz S, DeFrate LE, Most E, Suggs JF, and Rubash HE. Kinematics of the knee at high flexion angles: an in vitro investigation. Journal

of Orthopaedic Research. 27(6):699 – 706. 2004.

Chandler T, Wilson G, and Stone M. The effect of the squat exercise on knee stability. Medicine and Science in Sports and Exercise. 21(3):299 –

303. 1989.

(Visited 874 times, 1 visits today)

Last modified: May 9, 2019