การคำนวณโปรตีนต่อมื้อ
หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินว่าในแต่ละมื้อนั้นร่างกายดูดซึมได้แค่ 20 g เท่านั้นดังนั้นห้ามกินโปรตีนเกิน 20 g เพราะร่างกายจะดูดซึมได้ไม่หมด เสียของ (บางคนอาจจะได้ยินเลขอื่น เช่น 30 g, 40 g)
คำถามคือร่างกายคนเราถ้าทานโปรตีนเกินปริมาณ 20, 30 g ตามที่เค้าว่ากันมาจะเสียของจริงหรือ?
จากงานวิจัยได้ ทำการเปรียบเทียบการทานอาหารดังนี้โดยวัดปริมาณไนโตรเจน (ปริมาณโปรตีน) ในกระเพาะอาหาร พบว่าในสองชั่วโมงแรก กลุ่มที่ทานโปรตีนน้อย (14% protein) นั้นปริมาณไนโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่กลุ่ม ที่ทานโปรตีนมาก (50% protein) นั้นปริมาณไนโตรเจนค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ จนในชั่วโมงที่ 5 ระดับไนโตรเจนของทั้งสองกลุ่มก็เหลือค้างในกระเพาะอาหารน้อยมากซึ่งหมายความ ว่าโปรตีนส่วนมากได้ออกจากกระเพาะอาหารไปจนเกือบหมดแล้ว
จึงกล่าวได้ว่าปริมาณโปรตีนที่มากนั้นจะส่งผลให้ร่างกายใช้เวลาในการย่อยและปล่อยอาหารออกจากกระเพาะนานขึ้น
ดังนั้นไม่ควรกังวลว่าแต่ละมื้อจะดูดซึมได้เท่าไร การคำนวณโปรตีนต่อมื้ออย่างง่ายๆ ก็ทำได้โดย
- คำนวณหาปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับในแต่ละวัน (ดูบทความที่เกี่ยวข้อง)
- หารจำนวนโปรตีนที่ได้ด้วยจำนวนมื้อ
- ตัวเลขที่ได้คือจำนวนโปรตีนต่อมื้อ
ยกตัวอย่างเช่น นาย A นน 60 kg ควรได้รับโปรตีนวันละ 132-198 g
ถ้านาย A ทานวันละ 6 มื้อ ก็จะตกโปรตีนต่อมื้อละ 22-33 g
อ้างอิง
S. Bilsborough, N. Mann, International journal of sport nutrition and exercise metabolism 16, 129 (2006).