ทำไมต้องเล่นเวทในช่วงลดน้ำหนักและรักษารูปร่าง

ทำไมถึงแนะนำให้เวทเทรนนิ่งเพื่อลด นน และรักษารูปร่าง

เวทเทรนนิ่งนั้นเป็นการเพิ่มกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรง แต่การเวทเทรนนิ่งนั้นก็มีความสำคัญต่อการรักษารูปร่างและการลด นน เช่นกัน

ในช่วงก่อนลด นน ควรจะฝึกเวทเทรนนิ่ง

การที่มีมวลกล้ามเนื้อมากๆ ก่อนจะเข้าช่วงลด นน และไขมันนั้นมีข้อดีตรง ยิ่งมีมวลกล้ามเนื้อมากก็ยิ่งมีมวลส่วนที่ใช้พลังงานมากขึ้น การลด นน และไขมันจะเน้นที่ปัจจัยให้พลังงานที่ได้รับน้อยกว่าพลังงานที่ใช้ (cal in < cal out) ซึ่งเมื่อเราตุนมวลกล้ามเนื้อที่เพิ่ม cal out (พลังงานที่ใช้) ให้สูงขึ้น ก็จะช่วยให้การลด นน และไขมันเกิดได้ดีขึ้น

ในช่วงระหว่างที่ลด นน ควรจะฝึกเวทเทรนนิ่ง

การที่จะรักษามวลกล้ามเนื้อนั้นเราต้องมีปัจจัย 2 สิ่ง

1.สารอาหารที่มากพอ

2.การใช้กล้ามเนื้อเพื่อที่จะบอกร่างกายว่ากล้ามเนื้อนั้นยังจำเป็นอยู่

ซึ่งระหว่างการลด นน และไขมันนั้น เราต้องลด cal in อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ปัจจัยข้อแรกหายไป ถ้าเราไม่เวทเทรนนิ่งเพื่อคงปัจจัยที่สองไว้ ร่างกายจะตอบสนองด้วยการสลายกล้ามเนื้อเพื่อลดส่วนที่กินพลังงานซะ นน ที่ลดอาจจะเป็นส่วนของกล้ามเนื้อมากกว่าไขมัน และเมื่อการเผาผลาญลดลงก็ทำให้ไม่สามารถลด นน ต่อไปได้

 

จากงานวิจัยพบว่าเวทเทรนนิ่งให้ผลดีกว่าการคาร์ดิโอ

งานทดลองนี้ใช้อาสาสมัครหลักหมื่นคนมาทำการทดลองเปรียบเทียบความกว้างของรอบเอว พบว่าการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 20 นาทีช่วยไม่ให้ขนาดรอบเอวเพิ่มได้

 

แต่กลุ่มที่เลือกการออกกำลังกายเป็นแบบเวทเทรนนิ่งสามารถลดรอบเอวลงได้มากกว่ากลุ่มที่ออกแบบแอโรบิก (หรือที่เรียกกว่ากันว่าคาร์ดิโอ)

ถึงแม้การออกกำลังกายแบบเวทเทรนิ่งจะได้ผลดีกว่า แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมุ่งกันที่เวทเทรนนิ่งอย่างเดียว การลด นน ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างจะทำให้เกิดผลได้ดีกว่า สำหรับคนที่หุ่นดีแล้วต้องการรักษารูปร่างนั้นอาจใช้เพียงการคุมอาหารให้เหมาะสมกับการเวทเทรนนิ่งอาจจะเพียงพอ แต่คนที่มีไขมันส่วนเกินนั้นควรจะใช้การคุมอาหาร + เวท + คาร์ดิโอ ควบคู่กันเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดี

 

อ้างอิง

Mekary, R. A., Grøntved, A., Despres, J.-P., De Moura, L. P., Asgarzadeh, M., Willett, W. C., Rimm, E. B., Giovannucci, E. and Hu, F. B. (2015), Weight training, aerobic physical activities, and long-term waist circumference change in men. Obesity, 23: 461–467. doi: 10.1002/oby.20949

(Visited 398 times, 1 visits today)

Last modified: May 9, 2019