ถ้าตามอ่านบทความของ P4F ที่ลงเกี่ยวกับงานทดลองต่างๆ นั้น อาจจะผ่านตาคำเหล่านี้
กลุ่มควบคุม
กลุ่มที่ได้รับยาหลอก
กลุ่ม placebo
ตามคำแปลของ placebo นั้นคือยาหลอก คือยาที่บังเกิดผลทางจิตใจแต่ไม่ได้มีฤทธิ์ใดๆ
หลายคนอาจจะเคยไปหาหมอแล้วได้รับยามา พอทานยาแล้วก็รู้สึกดีขึ้นทันที ซึ่งบางครั้งยาก็ออกฤทธิ์เร็วจริงๆ แต่บางทียายังไม่ทันดูดซึมเลยก็รู้สึกดีขึ้นมาละ (บางคนเจอหน้าหมอแล้วอาจจะรู้สึกดีขึ้นเลยก็ได้)
ในการจะทดลองว่าสารอะไรก็ตามนั้นมีผลอย่างที่ว่าจริงมั้ย ก็ต้องตัดปัจจัยเรื่อง placebo ให้ได้ก่อน
เพราะอะไร?
จากการทดลองอันนึง โดยต้องการดูว่าสารๆ นึงนั้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายได้จริงหรือไม่
ทางผู้วิจัยก้ได้แบ่งอาสาสมัครดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ได้ฟังการบรรยายสรรพคุณของสารดังกล่าวว่ามีฤทธิ์ช่วยให้ออกกกำลังกายได้ดีขึ้น กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม
- กลุ่มที่ได้ฟังบรรยายและได้รับสารนั้นจริงๆ (ได้ยาจริง)
- กลุ่มที่ได้ฟังบรรยายแต่ไม่ได้รับสารนั้นจริงๆ (ได้ยาหลอก)
และอีกกลุ่มนึงไม่ได้รับฟังการบรรยายสรรพคุณของสารนี้เลย กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 2 กลุ่ม
- กลุ่มที่ไม่ได้ฟังบรรยายและได้รับสารนั้นจริงๆ (ได้ยาจริงแต่ไม่รู้ตัว)
- กลุ่มที่ไม่ได้ฟังบรรยายและก็ไม่ได้รับสารนั้นจริงๆ (ได้ยาหลอก)
กลุ่มแรกที่ได้ฟังบรรยายและได้รับสารนั้นจริงๆ ก็ตามที่คิดครับ ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายดีขึ้น
แต่ประเด็นที่น่าสนใจของงานทดลองครั้งนี้คือ
กลุ่มที่ได้ฟังบรรยายายแต่ไม่ได้รับสารนั้นกลับมีประสิทธิภาพในการออกกำลังกายใกล้เคียงกับกลุ่มที่ได้รับยาจริง พูดง่ายๆ คือได้ฟังสรรพคุณแล้ว ได้ยาแต่ยานั้นเป็นยาหลอกซึ่งเจ้าตัวไม่รู้ว่าตัวเองได้ยาหลอกแต่ดันส่งผลต่อจิตใจว่าจะได้สรรพคุณตามที่ได้ฟังมา
นั้นเป็นสาเหตุว่าทำไมการทดลองต่างๆ ต้องควบคุมให้มีกลุ่ม placebo ก็เพื่อป้องกันผลทางจิตใจที่คิดไปเองว่ากินยานี้ไปแล้ว, กินสารนี้ไปแล้วจะต้องพิเศษกว่าเดิม จะต้องไม่เหมือนเดิม ซึ่งถ้าการที่สารนั้นมันได้ผลเพราะ placebo effect นั้นก็ต้องถือว่าสารนั้นไม่ได้มีประสิทธิภาพตามที่กล่าวอ้างจริง สิ่งที่ได้ผลมาจากจิตใจล้วนๆ
ในชีวิตจริงการที่เราออกไปซื้อของ, อาหารเสริมบางชนิดซึ่งบางอย่างก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพจริง (จากการทดลองวิจัย หรือบางทีพบว่าทดลองแล้วได้ผลแต่มันเป็นผลที่เกิดจากการออกแบบการทดลองไม่ดี)
ซึ่งก่อนซื้อเราก็อ่านคำบรรยายสรรพคุณก่อนซื้อนั้นแหละ ทำให้เรามีความรู้สึกไปเองว่ามันได้ผล ซึ่งความรู้สึกของแต่ละคนเป็นเรื่องที่วัดได้ยากและต่างจากการทดลองที่มีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มทดลองหลายๆ คน, มีการควบคุมที่ดีกว่า และมีการใช้สถิติเพื่อเข้าช่วยในการแปลผลว่ามีนัยยะสำคัญจริงมั้ย
ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าสุดท้ายแล้วมันก็ได้ผลนะ แต่อยากให้มองว่ามันคุ้มหรือเปล่าที่เสียเงินไปกับของที่ไม่ได้มีฤทธิ์หรือประสิทธิภาพจริง
ก่อนซื้ออาหารเสริมอะไรก็แนะนำให้หาข้อมูลก่อน (ที่นอกเหนือจากคำบรรยายสรรพคุณตามฉลากสินค้า) จะได้ไม่เสียเงินไปกับอาหารเสริมที่ได้ผลเพราะแค่คิดไปเอง
ทิ้งท้าย
ตัวอย่างงานที่มีการออกแบบที่ทำให้กลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมนั้นได้รับปริมาณโปรตีนที่เยอะกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งแบบนี้แน่นอนว่าไม่สามารถเอาผลตรงนี้มาชี้ชัดได้ว่าอาหารเสริมดังกล่าวได้ผลจริงหรือไม่ เพราะในเมื่อกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมนั้นได้ปริมาณโปรตีนมากกว่าก็ทำให้การเสริมสร้างกล้ามเนื้อดีกว่าอยู่แล้ว
กินเวย์ทำให้กล้ามโตจริงมั้ย http://goo.gl/qgCGIF
กินเคซีนทำให้กล้ามโตจริงมั้ย http://goo.gl/yh7NRe
บทความในหมวดอาหารเสริม https://wordpress.planforfit.com/category/supplement/
อ้างอิง
McClung M, Collins D. “Because I know it will!”: placebo effects of an ergogenic aid on athletic performance. J Sport Exerc Psychol. 2007;29(3):382-94.