เทคนิค Rest Paused

Rest Paused คือลักษณะการฝึกปกที่จนถึงจุดอ่อนแรงที่ไม่สามารถออกแรงต้านได้ ให้ผู้ฝึกเก็บเหล็ก และ พัก 15-30วินาที แล้วเริ่มยกน้ำหนักเดิมนั้นต่อจนหมดแรงอีกครั้ง

 

หลักการและเหตุผล การยกเวทเป็นการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อในรูปแบบ ATP -> Anaerobic Glycolysis ตามลำดับ และการให้พลังงานแบบ ATP นั้นเป็นการให้พลังงานที่แรง แต่สั้นๆ โดย ATP จะหมดไปในระยะเวลาประมาณ 3-6วินาทีแรกของการยกเวท ซึ่งนานกว่านี้ร่างกายจะเปลี่ยนไปใช้ Anaerobic Glycolysis ทั้งนี้ ATP สามารถสังเคราะห์กลับได้ใหม่โดยใช้เวลาตั้งแต่ 15-90วินาที ด้วยหลักการนี้ Rest paused เป็นการบังคับให้ร่างกายต้องออกแรงแบบ ATP ซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยเป็นการตัดช่วง Range ของ Anaerobic glycolysis ออกไปนั่นเอง การฝึกด้วยเทคนิคนี้เป็นการฝึกความต้านทานของ ATP ซึ่งส่งผลพัฒนาเรื่องของแรงระเบิด รวมทั้งเพิ่มความเข้มข้นให้กับการฝึกด้วย

 

 

คงเป็นคำถามที่พบบ่อย และ เคยได้ยินบ่อยๆจากผู้เริ่มฝึกใหม่ ในเรื่องของการดันอกท่า Press ต่างๆแล้ว “ปวดข้อมือ” หรือการจับบาร์ต้องจับแบบ “กำรอบ” หรือจับแบบ “นิ้วโป้งอยู่ฝั่งเดียวกับนิ้วมือ” ตกลงต้องจับแบบไหน อย่างไร 

 

1601324_769669289751880_1761528950825919068_n (2)

 

จากภาพ แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งของบาร์เบลล์/ดัมเบลล์ที่มีผลต่อนน.ที่กดลง และ ความสัมพันธ์กับแรงที่ดันขึ้น กล่าวคือ ในขณะที่เราออกแรงดันท่า pressนั้น ผู้ฝึกออกแรงจากกล้ามเนื้อ ส่งผ่านไปทางแนวต้นแขนใกล้เคียงแนวขนานกับพื้นโลกผ่านไปยังข้อมือและส่งผ่าน สู่น้ำหนักที่ยก จะเห็นได้ว่าข้อจำกัดของการ “กำบาร์”นั้นแนวของนิ้วโป้งจะพับอ้อมบาร์ เพื่อกำไว้ตำแหน่งของน้ำหนัก เลยถูกบังคับด้วยสรีระของนิ้วโป้งเลยจำเป็นต้องอยู่สูงขึ้นไปในมือบริเวณ เหนือตำแหน่งของโคนนิ้วโป้ง และ เมื่อนิ้วโป้งโค้งมารับบาร์จะเกิดการงอของฝ่ามือทำให้เกิด “อุ้งมือ” (ดังภาพซ้ายล่าง) แรงกดที่กระทำจากน้ำหนักจะตกลงที่ด้านบนของฝ่ามือมาก ในขณะที่แรงที่ดัน ออกจากส่วนล่าง ของฝ่ามือ ใกล้ข้อมือมากกว่า ทำให้เกิดแรง “ง้าง” ฝ่ามือไปทางด้านหลังตามแนวลูกศรสีเหลือง เปรียบเทียบกับการจับแบบ “ไม่กำบาร์” ฝ่ามือจะเป็นลักษณะเรียบกว่า และ สามารถวางบาร์ ไว้ใกล้ข้อมือได้กว่าโดยไมติดอุ้งมือส่วนนิ้วโป้ง ทำให้น้ำหนักตกลงใกล้แนวแรงที่ดันมากกว่า เกิดมุมการง้างน้อยกว่ามาก อีกทั้งแรงที่ดันออกจากขัอมือยังไม่ถูก แตกแรงมากเพราะมุมต่างในระยะห่างจาก แนวแรงต่อน้ำหนักน้อยกว่ามากนั่งเองครับ

หมายเหตุ : การจับบาร์มีส่วนในเรื่องความชอบ หรือ ความถนัดส่วนบุคคล ไม่มีข้อใดถูกหรือผิด การจับแบบ “ไม่กำ” มีความเสี่ยงในการหล่นของบาร์เบลล์มากกว่าในแบบ “กำบาร์” ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และดุลยพินิจของผู้ฝึก

(Visited 572 times, 1 visits today)

Last modified: May 9, 2019